Thursday, November 12, 2009

Gujarati Thali หรือ “คุชราตีถาลี” อาหารพิเศษที่ขึ้นชื่อมากๆของอินเดีย

The traditional Gujarati food is primarily vegetarian and has a high nutritional value. The typical Gujarati thali consists of varied kinds of lip smacking dishes. Gujarati cuisine has so much to offer and each dish has an absolutely different cooking style. Some of the dishes are stir fry, while others are boiled. Gujarati food is more often served on a silver platter. Gujaratis use a combination of different spices and flavors to cook their meals and this is what makes their food truly exotic.

The traditional Gujarati thali mostly encompasses rotli, dal or kadhi, sabzi also known as shaak and rice. People in Gujarat eat one or the other type of curry along with rice and roti in almost every meal Gujarati dishes usually have a very subtle taste that makes it truly distinct from other Indian cuisines. Lot of emphasis is laid on maintaining hygiene while cooking. Most of the Gujarati dishes are sweet, while others have a quite larger concentration of sugar as compared to salt and spices. Sometimes, jaggery is used as an alternative to sugar.

Gujarati food is highly energy efficient and thus do not cause much of fuel wastage. The staple food of Gujarat consists of homemade pickles, chhaas (buttermilk), salad etc. main course includes vegetables which are usually steamed and dal. Vaghaar is a blend of spices, which is purified in hot oil and then added to the dal. To prevent the body from becoming dehydrated, lot of salt, sugar, tomato and lemon is used.

Gujarati cuisine differs from season to season depending on the availability of vegetables. People in the urban areas are starting some new eating trends. In the summer season, spices such as black pepper and its constituent spices are used in lesser quantities. People fast on a regular basis and limit their diet to milk, nuts and dried fruits.

In the modern era, more and more youngsters have started developing taste for oily spicy food. Even, the modern chefs are coming up with fusion food concept by combining Gujrati food and Western food. Desserts, which were in the ancient times offered only on festivity or some special occasions, have now found their way in the daily meals.


Thali หรือภาษาไทยอ่านว่า "ถาลี" ในภาษาฮินดี แปลว่า ‘ถาด’ เข้าใจง่ายๆก็คือ อาหารชนิดใดก็ตามที่ลงท้ายชื่อด้วย thali ก็จะหมายถึงอาหารที่ใส่เป็น "ถาด" มาให้รับประทาน ตัวอย่างเช่น Panjabi Thali หรือ Gujarati Thali เป็นต้น หรือถ้าคนไทยนำไปประยุกต์ อาจจะเรียกว่า Thai Thali ก็ได้

“ถาลี” (Thali) ในอินเดียคืออาหารชุดแบบมังสวิรัติ มีเครื่องใส่ในถาดหลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นอาหารประเภทข้าว แป้ง และแกงต่างๆ ถาลี (Thali) เป็นอาหารที่ ชาวอินเดียบอกว่าเป็นอาหารของคนจน เพราะว่า ตามปกตินั้นการสั่งอาหารนั้น กับข้าวอย่างหนึ่งมีราคาค่อนข้างแพง การจะสั่งหลายๆ เมนู ในครั้งเดียวได้นั้น ต้องถือว่า เป็นคนที่มีฐานะพอสมควร แต่ทำอย่างไรได้ล่ะ เมื่อมีเงินน้อย แต่อย่างรับประทานหลายๆ อย่าง จะทำยังไงดี จึงเกิดเมนูขึ้นมีชื่อว่า ‘ถาด’ หรือ ถาลี ขึ้นมาเอาใจสิงห์เงินน้อย

“ถาลี” (Thali) เป็นอาหารชุดแบบมังสวิรัติ ที่ชาวอินเดียโปรดปรานรสชาติกันมาก แต่อาจจะไม่ถูกปากผู้ที่ติดรสชาติของเนื้อสัตว์สักเท่าไหร่ เค้าจะเสิร์ฟมาในถาดกลมๆ มี"โรตี"หรือ"จะปาตี"เป็นหลัก (เมื่อกินหมดมีเติมให้ตลอด) บางครั้งก็นิยมใส่ข้าวสวย หรือข้าวเกรียบอินเดียที่เรียกว่า Papad ด้วย ถาลี ปรกติจะมีแกงถั่ว มันบด มะเขือเทศดอง และโยเกิร์ตแบบอินเดียมาให้ทานคู่กับโรตี เป็นอาหาร pure veg ล้วนๆ กินอิ่มท้องนักแล เพราะมีส่วนประกอบจากข้าว และแป้ง เป็นส่วนใหญ่

สำหรับ Gujarati Thali หรือ “คุชราตีถาลี” เป็นถาลีชนิดพิเศษที่ขึ้นชื่อมากๆของอินเดีย ต้นตำรับมาจากรัฐคุชราต ทางภาคตะวันตกของอินเดีย

ซึ่งความพิเศษของถาลีแบบคุชราตก็คือ จะมีโรตีชนิดหวานให้ด้วย (นอกจากโรตีธรรมดา) โรตีหวานดังกล่าวจะมีใส้เป็นถั่วกวน รสชาติเหมือนขนมเปี๊ยะเยาวราชเลย แถมกับและแกงต่างๆ มีสีสันตระการตา แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นอาหาร Pure Veg ที่ปราศจากเนื้อสัตว์อยู่ดี คุชราตีถาลี (Gujarati Thali) สามารถหาทานได้ในเขตรัฐมหาราษฏระ เพราะอยู่ติดกับรัฐคุชราตต้นตำรับเลย

Thali ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูของอาหารอินเดีย ที่ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว


EN info: http://www.culturalindia.net/indian-food/gujrati.html
image credit: http://www.travelblog.org/Photos/3570271