Thursday, June 30, 2011

อิดลี (idli) อาหารเช้าขึ้นชื่อของ อินเดียใต้

อิดลี (idli) อาหารเช้าขึ้นชื่อของอินเดียใต้

อิดลี (idli) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของทางภาคใต้ของอินเดีย แต่ปัจจุบันก็มีขายและรับประทานกันโดยทั่วไป เป็นอาหารที่ทำง่ายๆ อร่อย และมีสารอาหารบำรุงสุขภาพ หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงขนมถ้วยฟูบ้านเรา แต่จะทำเป็นก้อนกลมแบนเหมือนขนมถ้วย ไม่มีรสหวานออกไปทางเปรี้ยวนิดๆ ราดด้วยน้ำปรุงรสแบบต่างๆ และทานเป็นอาหารเช้าหรืออาหารว่างยอดฮิตของอินเดีย

อิดลี ทำมาจาก ข้าว และ ถั่ว Urad Daal (ถั่วเขียวผิวดำ) นำมาโม่เป็นแป้ง การทำอิดลีนั้นไม่ยาก แต่ใช้เวลาในการเตรียมนานพอสมควร เพราะต้องใช้เวลาสำหรับการหมักแป้ง ส่วนผสมที่เป็นแป้งของอิดลีต้องหมักไว้ค้างคืน ก่อนนำไปนึ่ง จึงต้องมีการเตรียมการ ไว้แต่เนิ่นๆ ในการทำ (วิธีการทำดูได้จากวีดิโอด้านล่างนี้) เวลาทานมักเสิร์ฟคู่กับน้ำราดแบบต่างๆ ได้แก่ Sambhar และ Nariyal cyutney (ทำมาจากมะพร้าว) และต้องทานขณะร้อนๆ ถึงจะอร่อย

อิดลี (idli) อาหารเช้าขึ้นชื่อของ อินเดียใต้เนื่องจากอิดลีทำจากข้าวและถั่ว มีน้ำมันน้อย ไม่เผ็ด ผ่านการหมักมาแล้วทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ง่าย จึงเป็นอาหารของทางใต้ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป และหาซื้อได้ง่ายในอินเดีย รวมทั้งนำมาขายถึงที่หน้าประตูบ้าน ตามหอพักต่างๆ ในตอนเช้าจะมีพ่อค้าอิดลีแบกหม้ออิดลีมาขายถึงที่เลย และมักขายคู่กับ วาดะ (Vada) ลักษณะคล้ายโดนัท แต่มีรสเค็มไม่หวาน ทานคู่กับอิดลีก็อร่อยดี ต้องลองชิมดู อาจรู้สึกแปลกๆ กับรสชาติในตอนแรก แต่ทานไปทานมารับรองจะติดใจ

Idli is one of the most popular south Indian recipes all over the country. Extremely scrumptious, light and nutritious, Idli is an ideal breakfast item. Made of rice and Urad Daal, making Idli is not difficult at all, however its preparation takes a little time as the batter for Idli requires fermentation. As it is a steamed food with minimum oil and no spices, it is an ideal food item for every body. It is one of the most regularly made items in any Malayalee home. Idli is served hot along with sambhar and Nariyal chutney (Coconut chutney). Read on to know how to make idli, if you want to try this wonderful south Indian delicacy.

Idli Recipe

Ingredients
  • 2cup Rice
  • 1 cup Urad Daal (white)
  • 11/2 tbsp Salt
  • A pinch of Baking Soda
  • Oil (for greasing the pans)
Method

1. Pick, wash and soak the daal overnight or for 8 hours.

2. Pick, wash and drain the rice. Grind it coarsely in a blender.

3. Grind the daal into a smooth and forthy paste.

4. Now mix the grinded rice and daal together into a batter.

5. Mix salt and set aside in a warm place for 8-9 hours or overnight for fermenting.

6. Idlis are ready to be cooked when the batter is well fermented.

7. Grease the idle holder or pan well and fill each of thm with 3/4th full of batter.

8. Steam cook idlis on medium flame for about 10 minutes or until done.

9. Use a butter knife to remove the idlis.

10. Serve them with sambhar or chutney.




credit:
http://learningpune.com/?p=3962
http://festivals.iloveindia.com/onam/idli.html

Tuesday, June 28, 2011

ชีสอินเดียหรือปะนีร์ (Indian paneer or panir)

Life in Jeju 70 - มาทำชีสอินเดีย Paneer แบบง่ายๆที่บ้านกัน
15 เม.ย. 2011 ... เ ป็นชีสแบบอินเดีย นิยมใส่ใน Indian Curry เช่น Paneer Butter Masala เมนูนี้นิยมมากในร้านอาหารอินเดีย ประกอบกับ ช่วงที่กลับไทย ไมค์ไปซื้อพวกผง Curry ..... Life in Jeju 75 - วันเด็กที่เกาหลี สไตร์เด็กโข่ง ^^ ...
http://gapdiary.diaryclub.com/20110412/Life-in-Jeju-70-มาทำชีสอินเดีย-Paneer-แบบง่ายๆที่บ้านกัน

Paneer โฮมเมด – ชีสอินเดีย
Paneer โฮมเมด – ชีสอินเดีย. มิถุนายน 24, 2010 | admin | 25 ความคิดเห็น » ... ความคิดเห็น (0). ไม่มีความคิดเห็นสำหรับบทความนี้. ...
http://tastefood.info/th/homemade-paneer-indian-cheese/

Paneer (Hindi: पनीर panīr, from Persian پنير panir) is a fresh cheese common in South Asian cuisine. It is of Indian origin. In eastern parts of India, it is generally called Chhena. It is an unaged, acid-set, non-melting farmer cheese or curd cheese made by curdling heated milk with lemon juice or other food acid.
Unlike most cheeses in the world, the making of paneer does not involve rennet as the coagulation agent, thus making it completely lacto-vegetarian and providing one of the sources of protein for vegetarians in India. It is generally unsalted.

ชีสอินเดียหรือปะนีร์ (Paneer / Panir)

A special favorite with North Indians, paneer (cottage cheese) with its delicate milky flavour is used all over India to make delicious dishes ranging from curries to desserts. Available at most supermarkets in block form or even as curds, it readily takes on the flavor of the spices in which it is cooked. When used to make desserts it gives a rich and creamy flavour. Paneer can be bought at the supermarket or better still, made at home quite easily.

รสชาติของปะนีร์ ก็คล้ายกับเต้าหู้แต่จะมีกลิ่นนม เคี้ยวมันและมีเนื้อแน่น ใช้ประกอบในแกงหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น Aloo Paneer (อาลู ปะนีร) คือแกงมันฝรั่งกับปะนีร, Matter Paneer (มัตเตอร์ ปะนีร) คือแกงเมล็ดถั่วลันเตากับปะนีร, Palak Paneer (ปะลัก ปะนีร) แกงผักโขมกับปะนีร หรือแม้แต่ Saag Paneer (ซ้าก ปะนีร) แกงผักโขมปั่นรวมกับผักอย่างอื่นใส่ปะนีร

ส่วนผสม:
- นมสด จะเป็นนมสดๆ หรือเป็นนมกล่อง UHT ก็ได้ ปริมาณ 1 ลิตร และ

- โยเกิร์ต หรือ
บัตเตอร์มิลค์ 200 มิลลิลิตร หรือ
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ หรือ
น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ

เลือกเอาตามสะดวกว่าจะใช้อะไรใน 3-4 อย่างนี้ เพื่อทำให้นมจับตัวกัน

ส่วนวิธีทำก็ง่ายมาก เริ่มจาก

1. ขั้นแรก นำนมใส่หม้อ ทำการต้ม ใช้ไฟแรงได้ค่ะ ระหว่างต้ม คอยคนด้วยนะ


2. ต้มจนเดือด เป็นฟองฟูฟ่องขึ้นมาถึงปากหม้อ

3. เบาไฟลง แล้วเติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ (หรือโยเกิร์ต หรือน้ำมะนาว ตามสูตรข้างบน)

4. ตอนนี้นมจะเริ่มจับตัวเป็นก้อน เมื่อเห็นว่าน้ำแยกออกจากนมหมดแล้วก็สามารถปิดไฟได้ แต่ถ้าหากดูท่าทางมันไม่ยอมจับตัวแยกออกจากน้ำโดยง่าย ให้เติมน้ำส้มสายชู หรือโยเกิร์ต หรือ น้ำมะนาว เหมือนที่เติมไปก่อนหน้านี้ เพิ่มได้ ดูจนแน่ใจว่านมจับตัวกันหมดแล้วจริง ๆ จึงปิดไฟ


5. เตรียมตะกร้าใบเล็ก ๆ ไว้ 1 ใบ ใช้ผ้าขาวบางสะอาด ทบ 2 ชั้นปูรองไว้ แล้วเทนมที่ต้มจับตัวกันแล้ว ลงไปในตะกร้าที่มีผ้าขาวบางรอง ปล่อยน้ำให้ไหลออกไปให้หมด


6. แล้วจับปลายผ้าขาวบางตลบมาคลุมตรงกลางตะกร้าไว้ จากนั้นให้หาของหนัก ๆ อย่าง สากหิน หรือ ก้นครก ทับไว้

7. ทิ้งไว้ซักครึ่งชั่วโมง หรือพอน้ำแห้งหมด ก็นำมาประกอบอาหารได้เลย หรือจะเก็บใส่กล่องให้มิดชิดแช่ตู้เย็นไว้ 2-3 วันก็ยังน่ากินอยู่เหมือนเดิม

recipe/images credit: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nuumali&group=2

......................................................................................................................................................


Saturday, June 25, 2011

ราสมาลัย (Rasmalai)

0532 ราสมาลัย | ThaiGoodView.com Knowledge for Thai Student
30 ส.ค. 2008 ... Rasmalai with Pistachio Caramel. ทำจากแป้งนุ่มหอมสูตรพิเศษที่ทำจากชีสและนม On Top ด้วยแผ่นเงินที่สามารถทานได้ ราดราสมาลัยซอส ...
http://www.thaigoodview.com/node/11171

สูตร Rasmalai | สูตรอาหารอร่อย
Ras Malai. Ras เสิร์ฟมาลัย 10 ส่วนผสมยอดเงินส่วนที่ส่วนผสม 1 1 ถ้วยนมผง 1 ไข่ 1 ... โพสต์ล่าสุด. AGGPLANT ผัดเพส SPICE ¼ ถ้วย (125 มล.) น้ำมัน 1 lb (500 ก. ...
http://tastefood.info/th/tag/rasmalai-receptet/



ราสมาลัย (Rasmalai)

Ras Malai is dumplings made from cottage or riccotta cheese soaked in sweetened, thickened milk delicately flavored with cardamom. Serve it chilled and garnished with slivers of dried fruit.

ราสมาลัย (Rasmalai) เป็นขนมหวานในแถบอินเดียทางตอนเหนือ มีลักษณะเป็นก้อนชีสแช่ในนม ทำจากแป้งนุ่มหอมสูตรพิเศษที่ทำจากชีสและนม อาจจะโรยหน้าด้วยแผ่นเงินที่สามารถทานได้ ราดราสมาลัยซอส เพิ่มความมันด้วย ถั่วพิตาชิโอ อัลมอน คาราเมล ก็เพิ่มความอร่อยได้ไม่น้อย

ราสมาลัย (Rasmalai) มีลักษณะจะคล้ายๆบัวลอยของไทยเรา ลอยอยู่ในน้ำนม ถ้าแช่ในตู้เย็นแล้วเอาออกมาทานจะหอมมากๆ ผู้คนชาวอินเดียวนิยมถวายพระกฤษณะเสียเป็นส่วนใหญ่

ข้อแนะนำอีกนิดนึงสำหรับขนมอินเดียชนิดนี้คือ ถ้าจะซื้อขนมอินเดียแบบชนิดที่เป็นน้ำ เมื่อซื้อมาแล้วควรจะรีบเก็บเข้าตู้เย็นทันที อย่าปล่อยไว้ในที่อุณหภูมิสูงนานๆ เนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อน ถ้าไม่รีบนำขนมเข้าตู้เย็น ขนมจะเสียได้ง่ายมาก

สูตรทำ ราสมาลัย (Rasmalai recipe)

Ingredients:
  • Paneer made from 1 liter of milk
  • 1 liter full cream/ whole milk
  • 1/2 cup sugar
  • 1 tablespoon cardamom powder
  • 4 cups water
  • 1 cup sugar
  • 1/2 cup thinly sliced almonds or pistachios

Preparation:

1. Mix the water and 1 cup of sugar in a pan and boil till all the sugar is dissolved. Turn off the fire and keep syrup aside.

2. Knead the Paneer (How to make Paneer) in a platter till very smooth. Make into balls slightly smaller than the size of a walnut and flatten slightly in the center.

3. When the Paneer balls are made, reheat the syrup to boiling, then simmer and gently drop in the Paneer balls. Cook for 10 minutes. Turn off fire.

4. In another pan boil the 1 litre of full cream milk with the 1/2 cup of sugar, till reduced/thickened to 75 per cent of its original volume. Turn off the fire, add the cardamom powder and mix well.

5. Add the syrup soaked Paneer balls (after draining) to the milk mixture and chill for a few hours.

5. Before serving, garnish with slivers of dried fruit.



credit:
http://www.hindumeeting.com
http://indianfood.about.com/od/sweetsanddesserts/r/rasmalai.htm

Tuesday, June 21, 2011

"พาหุรัด - Phahurat" Bangkok's Little India

"พาหุรัด" Center Point ของชาวอินเดีย

("Phahurat" Bangkok's Little India, Thailand)

ถ้าจุดนัดพบของเด็กวัยรุ่นไทย หรือผู้ใหญ่หัวใจวัยรุ่น คือพื้นที่แห่งสยามสแควร์ฯ ใจกลางกรุงเทพฯ แล้วทำไมชาวอินเดีย ที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จะมีเซ็นเตอร์พอยต์กับเขาบ้างไม่ได้ ซึ่งสถานที่พบปะสังสรรค์ของชาวภารตะที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ ก็คือพื้นที่บริเวณสองข้างทางบนถนนพาหุรัดนั่นเอง และถ้าเราสามารถตั้งนาฬิกาให้ย้อนเวลากลับไปในอดีตได้ ก็คงจะเห็นภาพพ่อค้าชาวอินเดีย ที่เดินทางเข้ามาจับจองพื้นที่บนถนนพาหุรัดเพื่อเริ่มกิจการขายผ้า

ยิ่งนานวัน กิจการขายผ้าก็เริ่มรุดหน้า เจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพ่อค้าผ้าชาวจีนจากดินแดนสำเพ็งมีความคิดที่จะขยายอาณาเขต เริ่มสร้างตึกต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตพาหุรัด พ่อค้าชาวอินเดียจึงทยอยย้ายครอบครัวหนีออกไปตั้งรกรากที่อื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวัฒนธรรม ศาสนา อาหารการกิน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบอินเดียแท้ๆ จะสูญหายหรือเคลื่อนย้ายตามออกไปด้วย เพราะในพาหุรัดยังมีสถานที่รวมใจ และโยงใยสายสัมพันธ์ของความเป็นอินเดียให้คงอยู่ ซึ่งสถานที่นั้นก็คือ ศาสนสถานสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา หรือศูนย์รวมชาวไทยซิกข์แห่งประเทศไทย ที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา โดยวัดซิกข์ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของชุมชนชาวซิกข์ที่อพยพมาจากประเทศอินเดีย ว่ากันว่าชาวซิกข์คนแรกที่เดินทางมายังสยามประเทศ เป็นพ่อค้าขายของนามว่ากิรปาราม มาดาน ประมาณปี พ.ศ. 2428 ได้เดินทางเข้ามาในเมืองไทยเพื่อจำหน่ายม้าพันธุ์ดี และได้พักอาศัยอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยความสงบสุขและอบอุ่นใจ

ภายหลังมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ จึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายอาชาฝีเท้าดีแด่พระองค์ด้วย ด้วยสำนึกในพระมหา
กรุณาธิคุณ จากนั้นจึงเดินทางกลับรัฐปัญจาปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และชักชวนเพื่อนพ้องให้กลับมายังสยามนครกับท่านอีกครั้ง เพื่อตั้งรกราก ไม่ช้าไม่นานผู้คนชาวซิกข์ก็ทยอยเดินทางตามคำชักชวนเข้ามาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ส่วนเอกลักษณ์เด่นๆ ที่ทำให้รู้ว่าบุคคลผู้นี้คือ ชาวซิกข์ก็คือผ้าโพกศีรษะของสุภาพบุรุษนั่นเอง

มูลเหตุที่ชาวซิกข์ต้องใส่ผ้าโพกศีรษะก็เพราะ ชาวซิกข์จะไม่มีวันตัดหรือโกนผมโดยเด็ดขาดตามหลักการของศาสนา เพราะฉะนั้นจึงต้องขมวดผมใส่ไว้ใต้ผ้าโพก ส่วนสุภาพสตรีก็ยึดถือหลักเดียวกัน โดยทั้งสองเพศจะต้องบำรุงรักษาเส้นผมให้สะอาดสมบูรณ์อยู่เสมอ สิ่งบำรุงผมและหนวดเครา จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหาซื้อมาเก็บไว้ใช้ เช่น สมุนไพรเฮนนา

หลายคนอาจนึกแย้งในใจว่าเฮนนาใช้สำหรับเพนต์ร่างกายต่างหาก แต่เจ้าของร้านชำสไตล์อินเดีย ได้กล่าวยืนยันแล้วว่าเฮนนานี่แหละที่ช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสาวแขกตาคมก็คือ สมุนไพรที่ใช้เขียนขอบตา ซึ่งจะบรรจุเป็นแท่งเนื้อครีมสีดำสนิท เวลาเขียนมือต้องนิ่งๆ แต่ถ้าอยากจับง่ายเขียนสะดวกต้องเลือกแบบเป็นดินสอ ซึ่งมีลักษณะเป็นสมุนไพรเนื้อครีมสีดำเช่นกัน ส่วนประโยชน์ของสมุนไพรชนิดนี้คือช่วยบำรุงขนตาให้ยาวและดำขลับ เรียกว่าได้ทั้งขนตาที่ยาวเป็นแพและดูเซ็กซี่แบบ Smokey Eye ไปในคราวเดียวกัน

ส่วนหนุ่มๆ ที่เผลอจ้องเข้าไปในตาของสาวแขก แล้วเกิดหลงทางอยู่ในนั้นต้องฟังคำเตือนกันสักนิด คือก่อนที่จะชวนสาวเจ้าไปเที่ยวเล่น กรุณาดูแต้มสีแดงตรงหน้าผากก่อน ถ้าสาวคนไหนมีปื้นแดงบริเวณหน้าผากใกล้ๆ กับไรผมยาวเลยขึ้นไปในเส้นผมประมาณ 1-2 นิ้ว นั่นก็แปลว่าผู้หญิงคนนั้นมีคู่แล้ว ส่วนเจ้าติกะ (Tika) ติลก (Tilak) หรือบินดี้ (Bindi) ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดกลมๆ กลางหน้าผาก นั้นเป็นจุดคนละประเภทกับแถบสีแดงบนใบหน้าของหญิงที่แต่งงานแล้ว

โดยทั่วไปติกะจะเป็นสีแดงและแต้มได้ทั้งหญิงและชาย สีแดงที่ใช้มีความหมายเช่นเดียวกับเลือด คือสื่อถึงขุมพลังและจุดกำเนิดของชีวิต ตำแหน่งกลางหน้าผากหรือตาที่ 3 คือแหล่งกำเนิดปัญญา ถือเป็นขุมแห่งสมาธิญาณหยั่งรู้และความรู้ เปรียบเสมือนกำลังหรือปัญญาขององค์พระศิวะ ติกะมีความหมายกึ่งศาสนา ส่วนใหญ่ใช้ในงานมงคล เช่น ชาวอินเดียจะต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมืองด้วยพวงมาลัยและติกะ, พ่อส่งมอบเจ้าสาว, พระทำพิธีทางศาสนา, การอวยพรจากเพื่อน ล้วนใช้เครื่องหมายติกะทั้งสิ้น

พูดถึงเครื่องสำอางแล้ว ก็ต้องพูดถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวอินเดียด้วย ไม่ต้องเสียเวลาคิดนานก็รู้ว่าต้องเป็นส่าหรีแน่ๆ แล้วก็ไม่ต้องใช้เวลาหานานด้วย เพราะเดินไปทางไหนก็จะพบกับร้านขายชุดส่าหรีของสตรี และโธตีของบุรุษเต็มถนนพาหุรัดไปหมด แต่โธตีอาจไม่เด่นเท่าส่าหรีเพราะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของคนยุโรป เช่น เสื้อเชิ้ต เนกไท ส่วนวิธีใส่ส่าหรีของสตรีอินเดียนั้นก็มีหลายแบบ แต่ใจความหลักคือการใช้ผ้าพลิ้วๆ เนื้อบางเบาผืนเดียวมาพันกาย บางครั้งอาจใช้ผ้าไหมร่วมด้วย

วิธีการพันก็จะแตกต่างกันออกไปตามภูมิภาคของประเทศอินเดีย สตรีทางตอนใต้จะพันส่าหรีลอดขา ส่วนสตรีในกูรก์ (Coorg) จะนุ่งส่าหรีให้ดูเหมือนใส่กระโปรง แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการใช้ผ้าส่าหรียาว 6 เมตรมาพันเป็นจีบรอบลำตัวและพาดไหล่ ที่เรียกกันว่า Nivi Style ซึ่งนับเป็นวิธีพันที่ใครๆ ก็ทำและพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด ลองสอบถามราคาได้ความมาว่าถ้าจะซื้อส่าหรีแบบเต็มยศ ต้องพกเงินติดตัวไปประมาณพันกว่าบาท

เปลี่ยนจากเรื่องสวยๆ งามๆ มาเป็นเรื่องอาหารการกินบ้างดีกว่า ลองสังเกตดูร้านชำ หรือแผงลอยก็จะเห็นบรรดาเครื่องเทศบรรจุใส่ถุงวางขายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นอบเชย ลูกกระวาน โซฟ และอื่นๆ อีกมากมาย เครื่องเทศ 11 ชนิดอย่างมาซาลา (Masala) ก็มีขาย ถั่วก็เป็นอาหารอีกชนิดที่เห็นวางขายทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็นถั่วเลนทิล ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลืองก็มีหมด และที่เห็นว่าพ่อค้าแม่ค้าให้ความสำคัญกับถั่วมากเป็นพิเศษ ก็เพราะกลุ่มชนส่วนใหญ่ที่นี่เป็นชาวซิกข์ซึ่งครองตนเป็นมังสวิรัติ ก็เลยกินถั่วเป็นอาหารหลักทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั่นเอง

แต่ก็ใช่ว่าจะเห็นแต่แขกซิกข์โพกผ้าเท่านั้นที่พาหุรัด เพราะที่นี่ยังเป็นจุดศูนย์รวมของชาวฮินดูด้วย เวลาเดินไปก็จะได้ยินทั้งภาษาปัญจาบี และภาษาฮินดีผสมกันไป ซึ่งชาวซิกข์ส่วนใหญ่ที่พาหุรัดค่อนข้างมีอายุแล้ว แต่ถ้าเป็นแขกฮินดูจะวัยรุ่นกว่าและมักมาเป็นกลุ่มๆ พร้อมกับส่งเสียงเฮฮากันในกลุ่มเพื่อนไปตลอดทาง
ย้อนกลับมาที่เรื่องอาหารกันต่อ เนื่องจากชาวซิกข์ไม่กินเนื้อสัตว์ ร้านอาหารแถบนั้นจึงขายแต่ผักตามไปด้วย แต่ก็มีร้านที่ขายอาหารจานเนื้ออยู่บ้าง คงเพราะจะกันบาบูชาวฮินดูเซ็ง

ขนมหวานแบบอินเดียนั้นชาวซิกข์กินได้ ชาวฮินดูก็กินได้ ส่วนชาวไทยต้องลองชิม เช่น ขนมลัดดูหรือโมทกะ ซึ่งเป็นขนมที่ใช้บูชาพระพิฆเณศ ทำจากแป้งถั่วปั้นกลม ซึ่งก็คือแป้งจะนา ทอดในน้ำมันเนย จากนั้นใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมแล้วทอดต่อจนสุก หรือลัดดูแบบนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าก็มี ซึ่งจะใช้มะพร้าวคลุกน้ำตาลปี๊บกับหญ้าฝรั่นเป็นไส้ ลองสังเกตดูดีๆ จะพบว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวเท่านั้นที่ถือขนม แสดงว่าทรงโปรดลัดดูหรือที่ชาวแขกออกเสียงว่า “หล่าดู๊” เอามากๆ

กุหลาบจามุน (Kulab Jamun) ก็เป็นขนมอีกอย่างที่ไม่ควรพลาด ขนมนี้ทำจากแป้งผสมนม ปั้นกลมๆ ทอดในเนยกี (Ghee) จากนั้นทำน้ำเชื่อมโดยใส่ลูกกระวานและน้ำดอกไม้เทศ พอน้ำเชื่อมอุ่นก็เทใส่กุหลาบจามุนที่ทอดไว้แล้ว เวลากินแนะนำว่าต้องกินคู่กับน้ำชา เพราะขนมชนิดนี้มีรสชาติหวานมาก ต้องค่อยๆ ลองชิมลองกินทีละน้อยๆ ขนมที่สามารถซดน้ำได้แบบอินเดียก็มี เช่น ราสมาลัย (Rasmalai) มีลักษณะเป็นก้อนชีสแช่ในนม ชีสอินเดียหรือปะนีร์ (Panir) จะมีเนื้อแน่นคล้ายกับเต้าหู้ ส่วนนมปรุงรสทำจากนม หรือครีมต้มกับน้ำตาล และผงกระวาน ขนมราสมาลัยนี้ก็ต้องค่อยๆ กินเช่นกัน เพราะถ้ากินมากอาจออกอาการอวบโดยไม่รู้ตัวได้

คราวหน้าถ้าจะนัดสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน คงจะเปลี่ยนบรรยากาศจากสยามฯ มาเป็นพาหุรัดเพื่อหากิจกรรมใหม่ๆ ทำอย่างแน่นอน เพราะจะได้ตัดปัญหาเวลาที่เพื่อนโอดครวญว่าเบื่อร้องคาราโอเกะ ขี้เกียจดูหนัง ไม่มีสตางค์ชอปปิง หรือทำไมต้องนั่งกินข้าวแต่ร้านเดิมๆ ด้วย...อย่างนี้ต้องเจอกันที่เซ็นเตอร์พอยต์พาหุรัด!


info/images credit: http://www.gourmetthai.com
images credit:
http://www.panoramio.com/photo/46153807
http://www.2how.com/board/48281.html