Thursday, July 28, 2011

นาน (Naan)

Naan is a leavened, oven-baked flat-bread. It is typical of and popular in South and Central Asia,in Iran, and in South Asian restaurants abroad. Influenced by the large influx of South Asian labour, naan has also become popular in Saudi Arabia and other Persian Gulf states.

Originally, naan is a generic term for various flat-breads from different parts of the world. In Turkic languages, such as Uzbek, Kazakh and Uyghur, the flatbreads are known as nan. The name stems from (New) Persian, a generic word for bread. In Burmese, flatbreads are known as nan bya. In South Asian languages, naan appears as नान (Hindi), نان (Urdu/Persian), ਨਾਨ (Punjabi).

นาน (Naan)นาน (Naan) อาหารประเภทแป้งที่ใช้รับประทานร่วมกับอาหารจานหลักอื่นๆ เป็นประเภทเดียวกับโรตีและจาปาตี แตกต่างกันที่แป้งและวิธีการทำนิดหน่อย คนอินเดียรับประทานอาหารจำพวกแป้งเหล่านี้เป็นหลัก เช่นเดียวกับที่เรารับประทานข้าวกับอาหารอื่นๆ

ดั้งเดิมนั้นนานทำมาจากแป้งที่อบในเตาแทนดอรี เตาแบบเดียวกับที่ใช้อบไก่แทนดอรี แต่ก็สามารถใช้เตา หรือเตาอบธรรมดาในบ้านได้เช่นกัน โดยเฉพาะถ้าได้รับประทานร้อนๆ คู่กับไก่แทนดอรี หรือไก่กะบั๊บแล้วละก็อร่อยน่าดู และก็ยังสามารถรับประทานได้กับแกงแขกทุกแบบ

กล่าวกันว่า พวกโมกุลได้นำนานเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ในช่วงที่ราชวงศ์โมกุลปกครองอินเดีย ซึ่งชาวโมกุลนั้นมาจากเปอร์เชีย ดังนั้นศัพท์คำว่า “นาน” (Naan) จึงมาจากภาษาเปอร์เชีย และปัจจุบันนานก็แทบจะเป็นหนึ่งในอาหารหลัก ที่รับประทานกันทุกภูมิภาคในอินเดีย

วัตถุดิบหลักในการทำนาน ได้แก่ แป้งสาลี โยเกิร์ต และยีสต์ และอาจผสมส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มเข้าไปตามต้องการได้ด้วย หรือ โรยหน้าด้วยเนยขูดฝอย หรือกระเทียมสับ หรือเนื้อสับที่เรียกว่า คีมา

วิธีการทำนานขั้นแรกต้องผสมแป้ง กับน้ำและยีสต์ก่อน นวดให้เข้ากันดี แล้วหมักทิ้งไว้ให้แป้งขึ้นฟูสักสองสามชั่วโมง ก่อนที่จะผสมส่วนผสมอื่นๆ ตามมาทีหลัง จากนั้นก็แผ่แป้งให้เป็นแผ่นแบนก่อนนำไปอบในเตาอบ จะเห็นได้ว่าวิธีการทำไม่ยากอะไร แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร

อย่างไรก็ตามนานก็ยังแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น นานเปล่าๆ (plain naan) นานใส่กระเทียม (garlic naan) นานคีมา ( keema naan) ที่ผสมเนื้อสัตว์เช่น แกะ สับลงไปด้วย และ เปชวารีนาน (peshwari naan) นานที่ผสมผลไม้แห้งลงไปด้วย เช่น ลูกเกด เกาลัด เป็นต้น



credit:
http://en.wikipedia.org/wiki/Naan
http://learningpune.com/?p=4265

Saturday, July 23, 2011

ข้าวปงกัล (Pongal Recipe)

Pongal Recipe

Pongal is the most important festival of South Indians. Pongal celebrations extend for four days. God is praised by man on these days with utmost devotion and sincerity. It is celebrated in south India to usher in the new year with immense gratitude, joy and amity. Pongal is a South Indian dish which is popularly cooked during this festival. There are two main varieties of pongal, namely sarkarai or sweet pongal and kara or spicy pongal. Kara pongal is called Ven pongal in Tamil Nadu and Huggi in Karnataka. The divine rice which is boiled with milk and jaggery in the festival is also called pongal.

PONGAL RECIPES

ข้าวปงกัล (Pongal)Ven Pongal

Ven pongal is an intrinsic part of South Indian culture, and popularly served as breakfast in South Indian homes. It is a creamy rice dish, which is made by cooking rice with ghee and roasted moong dal. The stirring is done in plenty of water and milk. The seasoning is done with black peppercorn, cumin and salt. The delicious mixture is cooked in a huge pot till the rice and dal become soft. Cashews are roasted and sprinkled on the finished dish before eating. The simplicity of this dish emanated a divine fragrance that fills South Indian homes at festival time.

Sarkkarai Pongal

Sarkarai Pongal is cooked in the Sunny courtyard and served from the pot directly.

Ingredients

Milk – 2 lts
Almonds – 10
Cashewnuts – 15
Kishmish or raisins – 30
Newly harvested rice – 1 and ½ cups
Grated jaggery – 1 and ½ cup
Nutroeg powder – ¼ tsp
Saffron powder – ¼ tsp
Cardamom powder – 1 tsp
Ghee – 2 tbsps

Preparation

Clean Kishmish and chopped cashew nuts and almonds. Pour milk in Pongapni (an earthen pot) and place on fire. Wash rice and dal and add to the milk when it comes to boil. Add ghee and jaggery when the rice and daal become soft. Cook on a medium fire for some time before adding almonds, cashew nuts, and the crushed and dissolved saffron, nutrieg and cardamom powders. Add Kishmish in the end and bring to one or two boils.

Tuesday, July 19, 2011

ธรรมเนียมปฏิบัติในครัวของชาวอินเดีย (Formality In the kitchen of the Indians)

ท่านคงได้ยินคำถามเมื่อไปอินเดียตั้งแต่อยู่บนเครื่องบินว่า Are you veg or non-veg?

ธรรมเนียมปฏิบัติในครัวของชาวอินเดีย
(Formality In the kitchen of the Indians)

อินเดียเป็นประเทศที่ประชาชนรับประทานอาหารเจมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในชนบทประมาณ 80 % ทานเจ ทั้งนี้ด้วยข้อปฏิบัติของศาสนาฮินดูที่ไม่ให้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อีกทั้งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานับพันๆ ปี แม้ว่าบางคนจะบอกว่าตนเป็นคนที่ทานเนื้อสัตว์ อย่างมากก็รับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์เดือนละครั้ง หรือปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้นขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของแต่ละคน

อย่างไรก็ตาม ในชนบท ครอบครัวที่มีบางคนทาน บางคนไม่ทานเนื้อสัตว์ เพื่อไม่ให้มีการปะปนกัน เขาจะปรุงอาหารเนื้อสัตว์ด้านนอกห้องครัว ใช้อิฐมาตั้งเป็นเตา แบ่งแยกอุปกรณ์ใช้ใส่เนื้อสัตว์ต่างหาก สำหรับในเมือง อาจใช้วิธีซื้ออาหารเนื้อสัตว์สำเร็จรูปจากร้าน และใส่ในภาชนะแยกต่างหาก ถ้าเป็นไปได้บางครอบครัวจะแยกห้องครัว แยกอุปกรณ์ และแยกเครื่องปรุงรสต่างหาก แต่ถ้าแยกครัวไม่ได้ จะแยกอุปกรณ์เครื่องใช้

ก่อนเข้าครัว แม่บ้านหรือแม่ครัวต้องอาบน้ำให้สะอาดก่อน อาหารมื้อแรก แม่ครัวต้องกำข้าวสารโปรยที่เตาไฟ (เตาถ่าน เตาฟืน หรือเตาแก๊ส) 1 รอบเพื่อบูชาเทพอัคนี ในวันที่ประกอบพิธีหรือวันที่อดอาหาร ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนทำอาหาร ให้พ่อบ้าน หรือผู้อื่นทำแทน ในอินเดียใต้ ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนเข้าห้องครัวทีเดียว ชาวอินเดียไม่ทานอาหารในห้องครัว ถือว่าเป็นบาป

เมื่อปรุงอาหารเสร็จ แม่ครัวจะแบ่งอาหารแต่ละชนิด อย่างละนิดเอาไปให้วัวกินก่อน หากอยู่ในเมืองก็เอาไปให้นก หากไม่มีสัตว์ก็ไม่ต้องทำ เมื่อสมาชิกมานั่งพร้อมเพรียงกัน หัวหน้าครอบครัวเอาอาหารอย่างละนิดๆ ใส่มือ วนหนึ่งรอบเหนือจานพร้อมสวดมนต์ เพื่อขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยให้มีอาหารรับประทาน เสร็จแล้วนำอาหารไปวางบนพื้นดินที่อยู่ด้านขวาของจาน น้ำดื่ม ก็ทำเช่นเดียวกันวนหนึ่งรอบแล้วเทไว้บนอาหารที่วางไว้ที่พื้นแล้ว

หลายๆ ครอบครัวที่ทานเจจะไม่ทานกระเทียมและหัวหอม ชาวอินเดียทานข้าวด้วยมือ

ถั่วเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ นมและขมิ้นรวมถึงผักสีเขียวหลายชนิดเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก ผลไม้แห้ง เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ (นำเข้า) มีธาตุเหล็กมากแต่ราคาแพงเกินไปสำหรับชาวอินเดียโดยทั่วไป และเมื่อสามปีที่ผ่านมาอาหารที่อินเดียมีราคาแพงมากขึ้น ทำให้คนจนขาดธาตุอาหารจำนวนไม่น้อยทีเดียว

ชาวอินเดียรับประทานอาหารสามมื้อ มื้อเช้าขึ้นอยู่กับแต่ละบ้าน อาหารเช้าไม่หนักมาก อาหารกลางวันรับประทานช่วง 13.00-14.00 น. อาหารเย็น ในเมือง 20.00-21.00 น. ส่วนในชนบทหลังจากที่นำวัวกลับจากการเลี้ยงในท้องทุ่ง หรือเสร็จจากการทำงานแล้วก็ให้วัวกินหญ้า เสร็จแล้วจึงทำอาหารทานเร็วกว่าคือ 18.00-19.00 น.

สรุป ข้อปฏิบัติต่างๆ ข้างต้นใครสามารถปฏิบัติได้ก็ทำไป ใครทำไม่ได้ก็ไม่ว่ากัน แต่การกระทำต่างๆ เป็นการปฏิบัติโดยนึกถึงผู้อื่น และขอบคุณพระเจ้าไปในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันเป็นการถ่ายทอดความเชื่อและการปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น คนไทยอาจไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมปฏิบัติที่เคร่งครัดเช่นนี้ เมื่อไปอยู่กับครอบครัวชาวอินเดีย ที่มีความเคร่งครัดอาจสับสนจนเกิดเป็น cultural shock ทำตัวไม่ถูกเลยทีเดียว แต่หากค่อยๆ เรียนรู้ก็ไม่ยากที่จะปรับตัวได้ในที่สุด


info credit: http://www.gotoknow.org/blog/indianstudies/180586
image credit: http://www.flickr.com/photos/evrensahin/126364343/sizes/z/in/photostream/

Friday, July 15, 2011

ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารของคนอินเดีย (Tradition of eating Indian food)

วัฒนธรรมการกินอยู่ของแต่ละประเทศ ต่างก็เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญของคนในประเทศนั้น ซึ่งมีความแตกต่างกันตามประเพณีและความเชื่อทางศาสนา คนอินเดียก็เช่นเดียวกัน ที่มีข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติที่พวกเราควรทราบกันไว้ถ้าได้มาอินเดีย โดยเฉพาะถ้าได้รับเชิญให้ไปรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อน ก็จะช่วยให้เราปฏิบัติตนได้ถูกต้องและเข้ากับวัฒนธรรมของเขาได้


ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารของคนอินเดีย
(Tradition of eating Indian food)


ในการรับประทานอาหารโดยทั่วไปคนอินเดียจะรับประทานด้วยมือ ไม่ใช้ช้อนส้อม แม้แต่อาหารประเภทน้ำ จำพวกแกงเผ็ด หรือซุบถั่วต่างๆ ก็เช่นกัน จะใช้แป้งขนมปัง เช่น นาน จาปาตี หรือโรตี ตักเข้าปากรับประทาน และการทานอาหารด้วยมือ ก็ถือว่าเป็นการรับประทานอาหารที่ได้รสชาติดีกว่าการใช้ช้อนส้อม

ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารของคนอินเดีย (Tradition of eating Indian food)ถ้าเป็นแบบอินเดียดั้งเดิมจริงๆ ที่ปฏิบัติมาแต่โบราณจะใช้ใบตองแทนจาน รับประทานเสร็จก็โยนทิ้งให้สลายตัวในธรรมชาติได้เลย ไม่ต้องมีภาระล้างถ้วยจานชามมากมาย อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารจึงแทบไม่มีความจำเป็น ดังนั้นบนโต๊ะอาหารจะไม่มีอุปกรณ์อื่นๆให้ นอกเหนือจากถาดอาหาร ยกเว้นตามร้านอาหารทั่วไปก็อาจให้ช้อนมาด้วยแต่ซ่อมนี่ไม่มีแน่

ในการรับประทานอาหารด้วยมือต้องใช้มือขวาเพียงข้างเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่ใช้เรื่องง่ายๆ เลย สำหรับคนที่ไม่เคยทานด้วยมือมาก่อน และคำว่ามือนี่ก็ไม่ได้หมายถึงทั้งมือ แต่หมายถึงแค่ปลายนิ้วเท่านั้นที่ใช้รวบอาหารแล้วกอบเข้าปาก การรับประทานแบบผู้ดีมีมารยาทของชาวอินเดียต้องไม่ให้มือเลอะเทอะ และจานอาหารต้องเกลี้ยงเกลาสะอาด มือข้างซ้ายนี่ห้ามใช้เลย เพราะถือว่าเป็นมือที่ใช้ชำระล้างในห้องน้ำ ไม่ควรเอามาใช้ในการรับประทานอาหาร แต่ในบางชุมชน ก็ยอมรับให้คนที่ถนัดซ้ายใช้มือซ้ายในการรับประทานอาหารได้

ดังนั้นก่อนรับประทานอาหารจึงต้องล้างมือให้สะอาด และการรับประทานอาหารที่เป็นทางการ ต้องให้เกียรติเจ้าภาพหรือผู้อาวุโส รับประทานก่อน และต้องไม่ลุกจากที่นั่งแม้จะรับประทานเสร็จแล้ว จนกว่าเจ้าภาพหรือผู้อาวุโสจะทานเสร็จ อาจขอตัวลุกออกไปล้างมือได้ แต่ต้องรีบกลับมานั่งประจำที่โดยทันที

ส่วนใหญ่แล้วคนอินเดียนิยมรับประทานกับพื้น จึงต้องนั่งขัดสมาธิ หลังตรงเสมอ แต่ถ้านั่งบนโต๊ะอาหารต้องไม่เท้าศอกบนโต๊ะ และอย่ายกถ้วยหรือจานอาหารขึ้น ให้ใช้มือกอบอาหารเข้าปากเท่านั้น

การตักอาหารใส่จานให้ตักเท่าที่จะทานได้หมด และการหยิบอาหารทานแต่ละครั้งควรหยิบคำเล็กๆ เพื่อไม่ได้หกเลอะเทอะ ทั้งปากและฝ่ามือ และควรทานให้ได้จังหวะสม่ำเสมอ ถ้าทานช้าไปอาจเป็นการแสดงความนัยว่าอาหารไม่อร่อยถูกปาก หรือทานเร็วไปก็เป็นการไม่สุภาพเช่นกัน

และเจ้าภาพจะมีความสุขมากที่เห็นแขกทานอาหารที่บ้านได้เยอะ แสดงว่าอาหารอร่อย ถ้าทานหมดเร็วเขาก็จะรีบตักให้ใหม่ทันที และตักทีละเยอะๆ ด้วย ถ้าทานไม่หมดเป็นอันไม่ให้เกียรติเจ้าภาพอีก ดังนั้นต้องรักษาจังหวะให้ดี และหาทางออกที่สุภาพที่จะปฏิเสธ โดยไม่ให้เขาเสียน้ำใจนึกว่าเราไม่ชอบอาหารของเขา

จริงๆ แล้วการรับประทานแบบคนอินเดียก็ไม่ได้ลำบากมากมาย เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยกับการใช้มือข้างเดียวหยิบอาหารเข้าปาก พวกเราถนัดใช้ทั้งสองมือช่วยฉีกจับอาหารมากกว่า และบางทีไปทานตามร้านอาหาร ถูกโต๊ะรอบข้างเขามองเอาว่า ทานกันอย่างไรให้เลอะเทอะทั้งสองมือ อันนี้พวกเราไม่ค่อยสนเท่าไหร่ เพราะเขาคงไม่รู้ว่าเรามาจากไหน แต่ถ้าไปทานตามบ้านเพื่อน ก็อย่าให้เขาว่าเอาได้ ว่าเราไม่มีมารยาท ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของเขา


credit: http://learningpune.com/?p=10812

Thursday, July 7, 2011

ดาล (Dal)

ดาล (Dal)

ดาล หรือภาษาอังกฤษเขียนว่า Dal คืออะไร คงอธิบายยากสักนิด เพราะจะว่าไปแล้ว มันคือแกงก็ไม่ใช่น้ำซุปก็ไม่เชิง เอาเป็นว่ามันคืออาหารที่ชาวอินเดียกินประจำทุกมื้อ ชนิดที่เรียกว่า “วันๆ กินข้าวกับดาล และกินดาลกับข้าว” อาจจะเรียกให้พอเข้าใจได้ว่า "ซอสถั่วเหลือง หรือ แกงถั่วเหลือง"

วิธีการกินคือ ราดไปกับข้าว หรือทานกับ “จาปาตี” บางแห่งจะเรียก “โรตี” เอาเป็นว่าโรตีแบบบ้านเรานั่นล่ะ คล้ายๆ ว่า ถ้าเป็นภาษา มาลาตี ก็จะเรียก จาปาตี ถ้าเป็นภาษาฮินดีเขาจะเรียกว่า โรตี

ดาลจะทำขึ้นจากการต้ม โดยใส่ใบยี่หร่า ผงขมิ้น ลูกผักชีคั่ว พริกขี้หนูแห้งลอยหน้า เกลือ ถั่ว Moong Dal ชนิดสีเหลือง (“มุง - Moong” ในภาษาฮินดี น่าจะแปลว่าถั่ว ) เครื่องแกง ผักเครื่องเทศ หอม และส่วนมาก จะนิยมใส่ มาสซาร่า เครื่องเทศยอดนิยม ที่ชาวอินเดียชอบมาก ใส่ในอาหารแทบทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่ง ขนม น้ำผลไม้ และกาแฟ

ทำออกมาหน้าตาก็จะคล้ายๆ ถั่วเขียวต้มบ้านเรา แต่เละจนเป็นน้ำ พร้อมทั้งมีสีเหลือง รสชาติจะออกเค็มๆ และเผ็ดนิดหน่อย

บางแห่งที่นักเรียนไทยต้องอยู่หอ ถึงกับร้องเพราะ ถ้าถามว่าวันนี้กินข้าวกับอะไร คือตอบที่ได้ คือ กินข้าวกับดาล และถ้าถามต่อไปว่าวันพรุ่งนี้ล่ะ คำตอบที่ได้ก็เป็นไปทำนองเดียวกันคือ กินดาลกับข้าว เป็นประโยคขำๆ บนใบหน้าเจื่อนๆ ของผู้พูด

ดาล อาจจะแปลกประหลาดสำหรับคนไทย แต่ดาลบางแห่งอร่อยมาก ชนิดตักแล้วตักอีก ก็มี ถ้าอยากรู้ว่าดาลเป็นอย่างไร ทดลองชิมได้เลยตามร้านอาหารอินเดียทั่วไปในเมืองไทย

สนใจทำดาล คลิ๊กเข้าไปชมได้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=lekatuayao&group=4&month=04-2009&date=19


credit: http://learningpune.com/?p=1707

Tuesday, July 5, 2011

ความรู้เกี่ยวกับอาหารอินเดีย สำหรับคนไทยที่ไปศึกษาที่ประเทศอินเดีย (Somthing about indian food)

อินเดีย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมอาหาร มีจุดเด่นเรื่องการใช้เครื่องเทศ ซึ่งมีประวัติมายาวนานกว่า 7,000 ปี เครื่องเทศเหล่านี้รู้จักกันดีในนาม มาซาล่า (Masala) เป็นเครื่องแกงชนิดแห้ง ใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด

หรือแม้กระทั้งนำมาโรยข้าวรับประทาน ข้าวของชาวอินเดียจะมีลักษณะเรียวยาวกว่าปกติเรียกว่า ข้าวบัสมาตี (Basmati) มีรสชาติดี แต่ราคาค่อนข้างสูง ตามร้านอาหารจึงเห็นข้าวเหมือนที่รับประทานกันในประเทศไทย ส่วนใหญ่ชาวอินเดียนิยมทานแผ่นแป้งสุกที่มีทั้งแบบปิ้ง แบบนาบกระทะ และแบบทอด จำพวก โรตี (Roti) จาปาตี (Chapati) พารัตทา (Paratha) นาน (Nan) และปาปัด (Papad) สำหรับปาปัดนั้นจะถูกปากคนไทยเป็นพิเศษ เพราะกรอบเหมือนข้าวเกรียบทานง่ายไม่ต้องมีเครื่องจิ้มทานกับชา กาแฟ ก็อร่อย

อาหารประเภทแผ่นแป้งเหล่านี้ จะรับประทานกับเครื่องจิ้มนานาชนิด ที่นิยมมากคือแกงถั่ว (Dal) มีให้เลือกมากมายหลายรสชาติ และเนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่นิยมทานมังสวิรัติ (vegetarian) อาหารจึงต้องมีโปรตีนจากถั่ว หรือนม อาหารที่ใช้เต้าหู้จากถั่วเหลืองมีน้อยมาก แต่จะมีเต้าหู้อีกชนิดหนึ่งทำจากนมวัว เรียกว่า ปะนีร์ (Paneer) มีสีขาว จัดอยู่ในอาหารประเภทชีส แต่กลิ่นไม่แรง นิยมใส่ในแกงถั่ว

อนึ่ง อาหารของชาวอินเดียมีข้อแตกต่างระหว่างพื้นที่ โดยชาวเหนือนิยมใช้ เนยใส (Ghee) ในการทำอาหาร สีสันที่แดงจัดจ้านมาจากมะเขือเทศมากกว่าพริก รสชาติของอาหารเหนือจึงไม่เผ็ดร้อนมากนัก แต่จะหอมเครื่องเทศ ชาวเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแคชเมียร์จะนิยมใช้ แซฟฟรอน (Saffron) ซึ่งเป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูงในการประกอบอาหาร ในขณะที่ชาวใต้นิยมใช้กะทิ และพริกในการปรุงอาหาร อาหารชาวใต้จึงค่อนข้างเผ็ด อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียนิยมทานเผ็ดกันอยู่แล้ว เห็นได้จากร้านพิซซ่าชื่อดังอย่าง พิซซ่าฮัทนำเสนอเมนูพิซซ่าหน้าพริกขี้หนูอินเดียล้วนๆ มาให้รับประทานกัน

นอกจากอาหารมังสวิรัติแล้ว อาหารประเภทเนื้อสัตว์ก็มีให้รับประทาน อย่างเนื้อไก่และเนื้อแพะ (Mutton) สามารถหารับประทานได้ง่ายเพราะไม่ผิดหลักศาสนาใดๆ ขณะที่เนื้อวัวอันเป็นข้อห้ามของชาวฮินดู แทบจะหาทานไม่ได้เลยนอกจากร้านอาหารฝรั่ง เช่น Twenty Feet High (Bangalore; Church Street) และโรงแรมชั้นดี ส่วนเนื้อหมูอันเป็นข้อห้ามของชาวมุสลิมพอหาทานได้บ้าง โดยเฉพาะตามร้านอาหารจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีอยู่ในตัวเมืองใหญ่ๆทั่วไป

สำหรับอาหารซีฟู๊ดหาทานได้ไม่ยากตามเมืองที่ติดทะเล เช่น โกอา (Goa), มุมไบ (Mumbai), ปูเน่ (Pune) และอูดูปิ (Udupi) เป็นต้น เมืองชั้นในอย่างบังกาลอร์ (Bangalore) พอหาซีฟู๊ดทานได้บ้าง แต่หากซื้อไปทำเองจะสะดวกกว่าเสาะหาร้านอาหารซีฟู๊ด เนื่องจากมีอยู่ไม่มากนัก ร้านอาหารทะเลที่อยากแนะนำ หากอยู่ในเขตบังกาลอร์คือ The Mangalore Perl (Frazer Town) ซึ่งมีรสชาติดี ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา สารพัด ที่เด่นที่สุดคือแกงฉลามมาซาล่า อาหารทะเลสดแช่แข็งมีขายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป เช่น Fab Mall, Food World, Spensor และ Nilgiris ซึ่งมีให้เลือกหลายระดับราคา รวมทั้งใน Spensor M.G.Road เองยังมีแผงปลาทะเลขนาดจัมโบ้ให้เลือกซื้อสดๆ แต่ราคามักจะสูง หากเป็นแผงลอยทั่วไปตามตลาด หรือรถเข็นมักจะเป็นปลาน้ำจืดมีเกล็ดมาก ส่วนเนื้อสัตว์อื่นๆ หาซื้อไม่ยาก ยกเว้นเนื้อวัว ต้องหาซื้อในชุมชนอิสลาม ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไป สำหรับเนื้อหมูจะมีขายตามเขียงหมูในตัวเมือง และตลาด ส่วนในห้างสรรพสินค้า สามารถหาซื้อไส้กรอกหมูง่ายกว่าเนื้อหมูสด

สำหรับคนไทยที่คาดว่าจะไปศึกษา ณ เมืองใหญ่ อาทิ บังกาลอร์ และยังติดการรับประทานของไทยๆ อาทิ น้ำพริก น้ำปลา น้ำมันหอย รวมถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็สามารถหาซื้อได้ใน Fab Mall สาขา Forum Mall และ Nilgiris เป็นต้น ราคาอาจสูงหน่อย เพราะต้องนำเข้า ส่วนพืชผักมีให้เลือกจุใจแถมปลอดสารพิษ และราคาถูก ที่น่าแปลกใจคือ คนที่นี่ไม่ทานใบกะเพรา แต่จะใช้สำหรับบูชาเทพเจ้า หาซื้อได้ตามแผงขายพวงมาลัย (Garland) ลักษณะใบค่อนข้างเล็ก ร้อยมาเป็นวง เรียก ตูรูซิ หรือ Holy Leaf สำหรับผู้ที่ไม่ติดความเป็นไทยมากนัก อยากแนะนำให้ลิ้มลองรสชาติของอินเดีย อาหารจานเด่นของที่นี่มีทั้ง ไก่ทันดูรี (Tandoori Chicken) เป็นไก่ที่หมักในเครื่องเทศแล้วนำไปอบในเตาดิน ข้าวหมก (Biryani) มีทั้งหมกแพะและไก่ ส่วนที่โด่งดังในหมู่ชาวไทยเห็นจะเป็นไก่กะบ๊าบ (Chick Kebab) ซึ่งก็คือไก่ทอดนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมี โดซ่า (Doza) เป็นแผ่นแป้งยัดไส้ต่างๆ แล้วนำไปทอด อีกเมนูคือ อิฎลี (Idli) หน้าตาคล้ายซาลาเปา แต่เนื้อเหมือนขนมตาล รสจืด หรือหวาน แล้วแต่ส่วนผสม ซึ่งทั้งสองเป็นอาหารใต้ที่โด่งดังไปทั่วอินเดีย หากยังไม่ถูกปากต้องลอง แกงเขียวหวานไก่ไร้มะเขือ หรือ Chicken Kadai ร้านอาหารอินเดียเกือบทุกร้านจะมีเมนูหมี่ผัดแบบจีนสไตล์ต่างๆ ที่นิยมคือสไตล์แมนจูเลียรสชาติออกเผ็ดๆ ส่วนร้านอาหารสากลอย่าง Pizza Hut, KFC, McDonald's, Subway, Coffee World, Barista, Baskin Robbin, Rail Road และอื่นๆ ก็มีให้เลือกรับประทาน มีข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ ร้านอาหารที่นี่มักลงท้ายด้วยคำว่า Hotel จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโรงแรมที่นี่ไม่มีห้องพัก มีแต่อาหารขายอย่างเดียว

ในความเป็นจริงอาหารอินเดีย ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายๆคนคิด ปัญหาที่ทานอาหารอินเดียไม่ได้ส่วนใหญ่ เกิดจากการไม่คุ้นกลิ่นเครื่องเทศ แต่ใช่ว่าอาหารทุกอย่างของอินเดียจะใส่เครื่องเทศหนักๆ และสไตล์การทำของแต่ละร้านก็ไม่เหมือนกัน เพียงแต่นิสัยเด็กไทยที่ไปอยู่เมืองนอก หากเข้าร้านไหนก็มักเข้าร้านนั้นเป็นประจำ ไม่ค่อยเปลี่ยน หรือหาทางเลือกใหม่ๆ อีกประการที่สำคัญที่สุด คือ สั่งไม่เป็น จึงไม่กล้าสั่ง เมนูที่ทานจึงซ้ำๆ เมนูยอดฮิตสำหรับเด็กไทยเลย คือ Chicken Fried Rice และ Chicken Kebab ซึ่งน่าจะเป็นวัฒนธรรมการสั่งอาหารอินเดียของเด็กไทยไปแล้ว อยากให้ลองหันมาสั่งอย่างอื่นบ้างเช่น Lamb’s Leg Tandoori ใส่ปราปริก้าเยอะๆ, แป้งทอดสอดไส้ อย่าง Egg Paratha, Chicken Kadai กับ Paratha หรือพวกไก่ย่าง Chicken Tikka ทานกับ Nan อบเนยกระเทียมร้อนๆ สำหรับคุณผู้หญิงที่ห่วงใยสุขภาพ ไม่แนะนำให้ทานอาหารจำพวก Butter เช่น Butter Chicken ซึ่งเป็นไก่หมักเนยแล้วนำมาทำแกง ควรลองหันไปหาพวก Spinach Paneer หรือเต้าหู้ชีสในซอสผักโขม ทานคู่กับ Chapati หรือ Corn Chapati หากชอบทานข้าวมากกว่าแผ่นแป้งต่างๆ ลองชิม Jeera Rice หรือข้าวหุงยี่หร่า รับรองหอมถูกใจครับ ดีกว่าที่เราจะต้องไปแสวงหาร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี หรือฝรั่งทานเพราะราคาสูง สำหรับนักศึกษาคงทานกันไม่ได้ทุกมื้อ ยิ่งไปกว่านั้นคุณจะไม่รู้จักคำว่าปรับตัว และซึมซับ

คำว่า ลองเพื่อรู้ ช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้น (กับการทานอาหารอินเดีย) เช่นรู้ว่าอาหารที่ลงท้ายด้วยคำว่า ถาลี (Thali) หมายถึงอาหารที่ใส่เป็นถาดมา และมีเครื่องจิ้มหลายอย่าง ซึ่งไม่ถูกปากเพราะมีแต่ข้าว แป้ง และน้ำจิ้ม หรือแกงอัณฑะ (Anda Curry) ซึ่งก็คือแกงใส่ไข่ที่เป็นลูกๆ เพราะคำว่าอัณฑะในภาษาฮินดีหมายถึงอะไรที่เป็นรูปกลมๆ แต่สุดท้ายการได้เดินตลาดซื้อวัตถุดิบที่จำเป็นมาทำอาหารไทยเองดู น่าจะถูกปาก และประหยัดที่สุด ทั้งยังได้เรียนรู้ชาวอินเดีย และประสบการณ์การเป็นเด็กนักเรียนนอกจริงๆ

สุดท้ายสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องความสะอาด ขอเรียนว่า ปัจจุบันร้านอาหารของอินเดียส่วนใหญ่สะอาด และรสชาติดี แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ฉะนั้นผู้รับประทานเองต้องรู้จักคัดเลือกร้าน และรักษาอนามัยก่อนรับประทานอาหาร ด้านน้ำดื่มควรหาน้ำบรรจุขวด หากเป็นน้ำดื่มที่บริการฟรีตามร้านอาหารก็สามารถดื่มได้ เพราะแทบทุกร้านจะมีเครื่องกรองน้ำ บางแห่งต้มน้ำก่อนให้บริการลูกค้า ยกเว้นบางร้านที่อยู่นอกเขตตัวเมืองพึงควรระวัง สำหรับน้ำแข็งยังหาทานลำบากหากไม่ใช่ร้านอาหารใหญ่ๆ


ข้อมูลจาก: http://www.pieindiastudy.com/Pages/About_India_Food.html

Monday, July 4, 2011

“วาดะเปา” แฮมเบเกอร์แบบอินเดีย (Vada Pav or Vada Pao)

“วาดะเปา” แฮมเบเกอร์แบบอินเดีย (Vada Pav or Vada Pao)

อาหารเช้าของชาวอินเดีย ส่วนมากแล้วจะนิยมเป็นพวกขนมปังและของขบเคี้ยว และตามด้วยการดื่มนมวัวเป็นประจำทุกเช้า ชนิดที่ว่า “นม” คือเครื่องดื่มหลักๆ ของชาวอินเดียเขาล่ะ ไม่ว่าจะลูกเด็กเล็กแดง จนถึงวัยคุณป้าและคุณยาย ก็ยังนิยมดื่มนมเป็นประจำ จึงสังเกตได้ว่าชาวอินเดียเขาจะแข็งแรงกว่าคนไทยเยอะ แต่เสียอย่างเดียว ชาวอินเดียนิยมลงพุง แข่งกันชนิดที่ว่าเสมือนแข่งกันเพื่อชิงรางวัลกันทีเดียว

แต่วันนี้จะมาแนะนำอาหารเช้า ซึ่งไม่แน่ใจว่า ชาวอินเดียทำเลียนแบบฝรั่งมังค่าเขา หรือว่าเกิดจากการค้นคิดประดิษฐ์ประดอยของชาวอินเดียเขากันแน่

อาหารเช้าที่ว่านั้น รูปร่างคล้าย “แฮมเบอร์เกอร์” ของฝรั่งตาน้ำข้าวเขานั่นล่ะ แต่ต่างกันตรงที่ ไส้ของแฮมเบอร์เกอร์นั้น ทำมาจาก มันฝรั่งบด ผสมแป้ง ปั้นเป็นไส้ บวกด้วยเครื่องเทศ เช่น มัสซาลา และ เมล็ดมัสตาดรูปร่างกลมๆ ขนาดเท่าๆ ลูกอมโบตันบ้านเรานั่นล่ะ ยังไม่จบนะครับ เขายังใส่ ผักชี พริกสด ผสมลงไป และน้ำไปทอดในกระทะแบบทอดปาท่องโก๋

เจ้าอินเดียนแฮมเบอร์เกอร์ นั้น มีชื่อว่า “วาดะเปา” (ภาษาอังกฤษเขียนว่า Vada Pav หรือ Vada Pao) ความจริงแล้วมันแค่ดูคล้ายๆ มากกว่า โดยส่วนตัว คาดว่าชาวอินเดียคงรับวัฒนธรรมการบริโภคขนมปังมาจากชาวอังกฤษ และเอามาปนกับ อาหารพื้นเมือง แต่ไม่แน่ใจว่าอาหารอินเดียที่ทำจากมันฝรั่งซะส่วนมาก เขารับอิทธิพลมาจากอังกฤษด้วยเหมือนกันหรือไม่

ภายในถาดถ้วยหรือถ้วยถาดของเรานั่น จะปรากฏโฉมของน้องวาดะ นอนแนบมากับหนุ่มน้อยปังปอนด์ซึ่งออกไปแนวตี๋น้อยผู้ขาวท้วม พร้อมด้วยน้องพริกเขียวทอดฉาบเกลือนอนเรียงรายอยู่ข้างๆ บางร้านนิยมใส่พริกป่นทอดน้ำมันมาด้วยนะเออ (ผมสงสัยว่าทำไมต้องทอดอีกหว่า ปกติมันก็ไม่เผ็ดอยู่แล้ว ยังจะลดความเผ็ดมันลงอีก)

ขั้นตอนการรับประทานก็ง่ายแสนง่าย แค่จับเจ้าขนมปังก้อนเล็กๆ นั่นล่ะ ผ่าตรงกลางออก แล้วนำเอาไส้วาดะเปานั่นล่ะใส่ลงไป จินตนาการง่ายๆ ว่าทำเหมือนแฮมเบอร์นั่นล่ะ และแล้วก็บรรจงกัดลงไป พร้อมทั้งบริโภคพริกทอดเป็นเครื่องเคียง เป็นอันว่า อิ่มพอใช้ได้ ในราคา 10 รูปี

เรื่องรสชาติถือว่าใช้ได้ และมาตรฐานคล้ายๆ กันทุกร้าน ส่วนรสชาติอย่างไร คงต้องลองมาชิมเองดีกว่า


credit: http://learningpune.com/?p=5681

Saturday, July 2, 2011

วาดะ อาหารพื้นเมืองอินเดียใต้ (Vada / wada / vade / vadai)

วาดะ (Vada / wada / vade / vadai)

Vada also known as wada or vade or vadai is a savoury fritter-type snack from South India.

Vada is a traditional South Indian food known from antiquity. Although they are commonly prepared at home, vadas are as well a typical street food in the Indian Subcontinent and Sri Lanka. They are usually a morning food, but in street stalls and in railway stations, as well as inside the Indian Railways, they are available as a snack all through the day.

Vada can vary in shape and size, but are usually either doughnut- or disc-shaped and are about between 5 and 8 cm across. They are made from dal, lentil, gram flour or potato.

วาดะ ในภาษาอังกฤษเขียนได้หลายอย่าง ได้แก่ Vada หรือ Wada หรือ Vade หรือ Vadai เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียทางตอนใต้ ที่ชาวอินเดียรู้จักคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วาดะส่วนใหญ่จะทำกินกันภายในบ้าน ปัจจุบัน วาดะ นิยมรับประทานกันโดยทั่วไป มีขายตามร้านแผงลอยริมถนนของอินเดียและศรีลังกา และชาวอินเดียนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า แต่ก็สามารถรับประทานเป็นอาหารว่างในระหว่างวันได้เช่นกัน โดยเฉพาะชาวอินเดียที่อยู่ตามสถานีรถไฟ

วาดะ ทำมาจาก ดาล (Dal) , ถั่วเมล็ดแบน (Lentil), แป้งที่ทำจากถั่วชิกพีบด (gram flour) หรือ มันฝรัง
วาดะ มีรูปร่าง ลักษณะ รวมถึงขนาด ที่แตกต่างกันไปแล้วแต่คนทำ แต่ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับ โดนัท หรือ รูปร่างทางสีเหลี่ยม ขนาดประมาณ 5-8 เซ็นติเมตร

วาดะ ตัวแป้งจะคล้ายกับแป้งที่ใช้ทำ อิดลี่ เพียงแต่เขาเอามันมาทอดเท่านั้นเอง วาดะ ถือว่าเป็นพี่น้องกับอิดลี่เลยทีเดียว เพราะชาวอินเดียเขามักจะสั่งมากินร่วมกันเสมอ

How to make Medu Vada - South Indian recipe