Monday, September 26, 2011

คนมุสลิม อิสลาม กินเจได้หรือไม่?

คนมุสลิม อิสลาม กินเจได้หรือไม่?
(Muslims can't be Vegetarian?)

สำหรับมุสลิมหลายท่านอาจยังสงสัยว่าอิสลามสามารถบริโภคอาหารเจได้หรือไม่?

คนมุสลิมกินเจได้หรือเปล่า?

บางคนอาจคิดว่าน่าจะทานได้เพราะอาหารเจไม่มีเนื้อสัตว์ ทำจากเต้าหู้บ้าง ผักบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเหล่านี้กันเลยดีกว่า

พอถึงช่วงเทศกาลกินเจ เราจะสังเกตเห็นธงประจำเทศกาลที่เป็นธงสีเหลืองเยอะแยะเต็มไปหมด ย่านหลัก คือเยาวราช ที่จัดงานอยางยิ่งใหญ่ทุกปี เทศกาลกินเจนี้ เป็นเทศกาลของชาวพุทธที่ให้ชาวพุทธศาสนิกชนปฏิบัติตนถือศีลกินเจได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน การกินเจ คือ การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว

การทานอาหารเจ คือการบริโภคอาหารมาจากผักหรือแปรรูปมาจากผัก แต่การกินเจนั้นหมายถึงการบริโภคอาหารจากพืช ผลไม้และที่แปรรูปจากสิ่งดังกล่าวแล้ว ยังหมายรวมถึงการถือศีลและมีความเชื่อในพิธีกรรมด้วย ซึ่งความเชื่อดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธในนิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คนนับถือศาสนาอิสลามจึงถือศีลกินเจ หรือกินเจอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เพราะมีบัญญัติในศาสนาไว้มิให้กราบไหว้ บูชาเทพหรือสิ่งอื่นใดนอกจากพระศาสดาทางอิสลามเท่านั้น ดังนั้นการกินเจ จึงเป็นความหมายที่ชี้ชัดว่าผู้ใดกินเจนั้นหมายถึงผู้ที่บริโภคอาหารเจที่งดเนื้อสัตว์ ทานพืช ผลไม้ แต่งดพืชบางชนิดและถือศีล ไหว้พระประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อของศาสนาด้วย
คนมุสลิม อิสลาม กินเจได้หรือไม่ (Muslims can't be Vegetarian?)ในด้านของอิสลาม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารที่มุสลิม ควรจะบริโภคต้องเป็นอาหารที่ฮาลาล เราควรจะทราบว่าส่วนประกอบในอาหารมีอะไรบ้าง จะเห็นได้ว่าร้านอาหารเจบางร้านก็ติดสติ๊กเกอร์ฮาลาล เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่ามุสลิมทานได้ เราไม่ควรตัดสินใจอะไรแค่ภายนอก แม้ว่าในอาหารเจไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ก็ตาม แต่กรรมวิธีในการนำมาปรุงนั้นต้องถูกตามหลักการอิสลามด้วย ทางที่ดีไม่ควรซื้อมารับประทาน เพราะถ้าเราไม่ทราบถึงกระบวนการผลิตว่าได้ผลิตตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักของศาสนา หรือไม่ก็จะเป็นการคลุมเครือ สงสัย แม้กระทั่งภาชนะที่นำมาใส่เราก็ไม่ทราบที่มาที่ไปได้ แม้ว่าเค้าจะไม่มีอาหารประเภทสัตว์อยู่ในอาหารเจก็ตาม เพราะฉะนั้นเลือกที่ไม่บริโภคเป็นดีที่สุด

จึงสรุปได้ว่า ที่มาของอาหารเจเป็นเรื่องศาสนา หรือเป็นความเชื่ออย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อพื้นฐานของอาหารเจเป็นเรื่องของศาสนา มุสลิมจึงไม่สามารถเข้าไปร่วมเทศกาลการกินเจ หรือซื้ออาหารเจมารับประทานได้เลยแม้แต่น้อย เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า “لَكُمْ دِيْنُكُمْ وَلِيَ دِيْنِ ” ความว่า “ สำหรับพวกท่าน คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันคือศาสนาของฉัน” (สูเราะฮฺอัลกาฟิรูน : 6) ฉะนั้นเรื่องของศาสนาพุทธ เช่นเรื่องการรักษาศีล 8 ก็เป็นเรื่องของชาวพุทธที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติกัน ส่วนเรื่องการกินเจ เป็นเรื่องของพี่น้องชาวจีน ซึ่งต้องการทำให้ตนเองบริสุทธิ์โดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ นั่นก็เป็นเรื่องของพวกเขา โดยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกิจกรรมการกินเจ หรือซื้ออาหารเจมารับประทานก็ตาม


credit:
http://www.thaimuslim.com
http://www.mureed.com
http://www.oknation.net

Saturday, September 3, 2011

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 5 (South indian foods : Episode 5)


อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 5
(South Indian Foods : Episode 5)



เครื่องดื่ม (Beverages)

อย่าหวังว่าจะได้กินน้ำเย็นจัดหรือได้กินน้ำแข็งในอินเดีย เพราะเครื่องดื่มที่นิยมคือเครื่องดื่มร้อนจำพวกชา กาแฟ อาจหาได้บ้างในร้าน Pizza hut แต่เขาจะให้ถ้วยละ 1 ก้อนเท่านั้น นัยว่ากลัวเราจะเป็นหวัด ไม่เช่นนั้นก็ต้องเป็นน้ำผลไม้หรือน้ำอัดลมในกระป๋อง กล่อง และขวด ร้านขายน้ำมีอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่จะเปิดอยู่ในห้องแถว มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งพักได้

ชาและกาแฟ คนอินเดียในทุกภูมิภาคนิยมดื่มชาในชีวิตประจำวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ และหลังมื้ออาหาร ในอินเดียใต้ก็ไม่แพ้กัน ชาของอินเดียใต้ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น คือเป็นชาใส่นมสดผสมมาซาล่า (ผงเครื่องเทศรสเผ็ดร้อน) นิยมดื่มร้อนๆ ตามรถเข็นจะใส่แก้วใสสูงประมาณ 2- 3 นิ้วฟุต ยืนจิบและคืนแก้วกันตรงนั้นได้เลย ส่วนในร้านเครื่องดื่มจะมีแก้วกระดาษให้เลือกสองขนาด จะกินที่ร้านหรือถือติดมือไปด้วยก็ได้ ในร้านอาหารชาและกาแฟจะมาแบบร้อนจัดในถ้วยโลหะทรงสูงซ้อนบนถ้วยทรงเตี้ย วิธีกินคือถ่ายชาหรือกาแฟจากถ้วยทั้งสองใบสลับไปมาสักสี่ห้ารอบเพื่อให้ความร้อนคลายลงแล้วค่อยดื่ม

ชาและกาแฟในอินเดียปกติจะใช้นมสดร้อนชงแทนน้ำร้อน ใส่น้ำตาลมาให้พร้อม รสชาติหวานจับใจ ถ้าไม่ชอบก็สั่งได้ แต่ถ้าอยากกินกาแฟดำบางร้านอาจไม่ถนัด เคราะห์ไม่ดีอาจพบกาแฟในแก้วใสทรงสูงมาเต็มแก้วด้วยรสชาติจืดชืด

หากไปถึงเจนไนแล้ว คอกาแฟไม่ควรพลาดเด็ดขาด เพาะทมิฬนาฑูเป็นแหล่งผลิตกาแฟชั้นดีของอินเดีย ซึ่งจะหาได้ทั่วไปจากร้านเครื่องดื่มและร้านอาหาร

ลาสซี่ (Lassi) คือโยเกิร์ตปั่นมีให้เลือกทั้งแบบเค็มและหวาน หรือจะปั่นผลไม้สดจำพวกมะม่วง กล้วย ฯลฯ รวมไปด้วยก็ได้ ลาสซี่ทุกเจ้าที่ได้กินจะมีความเย็นแบบเอาน้ำไปแช่ตู้เย็น คือจะไม่มีทางได้เห็นน้ำแข็งในแก้วลาสซี่เด็ดขาด ราคาของลาสซี่ในอินเดียใต้ถูกกว่าในร้านอาหารแขกบ้านเราเป็นเท่าตัว หากใครชอบลาสซี่ก็มาถูกที่แล้ว

น้ำผลไม้ มีผลไม้ให้เลือกมากมายในอินเดียใต้ เช่น องุ่น แอบเปิ้ล มะนาว ส้ม สับปะรด ฯลฯ เลือกได้ตามใจชอบ แต่อย่างหนึ่งที่เห็นคือน้ำส้ม หลายร้านจะมีส้ม (ซาตุกุดี-Sathukudi/ Mosambi) ใส่ถุงตาข่ายแขวนเป็น

ซาติกุดี
พวงอยู่หน้าร้าน และเป็นอย่างเดียวที่เห็นว่ามีรถเข็นขายเฉพาะ เขาจะคั้นส้มเช้งสดๆ แล้วเปิดกล่องน้ำแข็งก้อนออกมาทุบก่อนปั่นไปด้วยกัน ใส่เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย รสชาติหวานอมเปรี้ยว ราคาถูกแสนถูกเมื่อเทียบกับแถวเยาราช แต่น้ำผลไม้ที่เย็นที่สุดก็มีชะตากรรมเหมือนลาสซี่เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี น้ำละมุด (Sapotta)

น้ำทับทิม (Madulai) น้ำนมอัลมอนด์ (บาดัมมิลค์ -Badam Milk) ฯลฯ หรือจะลองเครื่องดื่มในเครือโคลา-โคล่า อาทิ น้ำมะม่วงบรรจุขวดยี่ห้อ Maaza น้ำมะนาวซ่ายี่ห้อ Limca น้ำส้มยี่ห้อ Minute Maid ก็ชื่นคอดี

หากเดินเล่นอยู่ในห้างสเปนเซอร์ ตู้ขายน้ำมะนาวโซดา “The Real Fresh” รสชาติจี๊ดจ๊าดสะใจเลยทีเดียว

น้ำอัดลม น้ำอัดลมในเครือโคค่า-โคล่า และเป๊ปซี่ มีให้เลือกเหมือนบ้านเรา ที่น่าลองคือ Thums Up หรือโค้กอินเดีย ที่มีกลิ่นเครื่องเทศนิดๆ ได้รสชาติแขกๆ ดีแท้

เครื่องดื่มสุขภาพ ยี่ห้อ Boost และ Horlicks เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เทียบได้กับโอวัลตินหรือไมโลในบ้านเราที่นิยมดื่มตอนเช้าหรือก่อนนอน บูสต์เป็นเครื่องดื่มในเครือเนสเล่ มีทั้งบรรจุขวดและกล่อง จุดขายคือมีวิตามินและสารอาหารเป็นส่วนผสม ส่วนฮอร์ลิคก์มีจุดขายอยู่ที่ส่วนผสมจากมอลต์ (Malt) ฮอร์ลิคก์มีฐานผลิตสำคัญอยู่ในอังกฤษ จาไมก้า และอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียใต้มีฮอร์ลิคก์จากโรงงานในรัฐอานธระประเทศจำหน่ายอยู่ทั่วไป ในหมวดเครื่องดื่มของร้านอาหารหลายแห่งมักมีบูสต์และฮอร์ลิกก์ให้เลือกเสมอ
นมถั่วเหลือง พบเห็นได้ในรูปนมถั่วเหลืองแบบกล่องตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่รสชาติเทียบไม่ติดกับไวตามิลค์บ้านเราเลย น่าจะมีใครลองไปทำตลาดดูบ้านก็ไม่เลวเลย สำหรับตลาดที่มีชาวมังสะวิรัติ 700 ล้านคนอย่างอินเดีย


credit: เอกสาร "อินเดียใต้" ของ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...