Monday, September 26, 2011

คนมุสลิม อิสลาม กินเจได้หรือไม่?

คนมุสลิม อิสลาม กินเจได้หรือไม่?
(Muslims can't be Vegetarian?)

สำหรับมุสลิมหลายท่านอาจยังสงสัยว่าอิสลามสามารถบริโภคอาหารเจได้หรือไม่?

คนมุสลิมกินเจได้หรือเปล่า?

บางคนอาจคิดว่าน่าจะทานได้เพราะอาหารเจไม่มีเนื้อสัตว์ ทำจากเต้าหู้บ้าง ผักบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเหล่านี้กันเลยดีกว่า

พอถึงช่วงเทศกาลกินเจ เราจะสังเกตเห็นธงประจำเทศกาลที่เป็นธงสีเหลืองเยอะแยะเต็มไปหมด ย่านหลัก คือเยาวราช ที่จัดงานอยางยิ่งใหญ่ทุกปี เทศกาลกินเจนี้ เป็นเทศกาลของชาวพุทธที่ให้ชาวพุทธศาสนิกชนปฏิบัติตนถือศีลกินเจได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน การกินเจ คือ การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว

การทานอาหารเจ คือการบริโภคอาหารมาจากผักหรือแปรรูปมาจากผัก แต่การกินเจนั้นหมายถึงการบริโภคอาหารจากพืช ผลไม้และที่แปรรูปจากสิ่งดังกล่าวแล้ว ยังหมายรวมถึงการถือศีลและมีความเชื่อในพิธีกรรมด้วย ซึ่งความเชื่อดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธในนิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คนนับถือศาสนาอิสลามจึงถือศีลกินเจ หรือกินเจอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เพราะมีบัญญัติในศาสนาไว้มิให้กราบไหว้ บูชาเทพหรือสิ่งอื่นใดนอกจากพระศาสดาทางอิสลามเท่านั้น ดังนั้นการกินเจ จึงเป็นความหมายที่ชี้ชัดว่าผู้ใดกินเจนั้นหมายถึงผู้ที่บริโภคอาหารเจที่งดเนื้อสัตว์ ทานพืช ผลไม้ แต่งดพืชบางชนิดและถือศีล ไหว้พระประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อของศาสนาด้วย
คนมุสลิม อิสลาม กินเจได้หรือไม่ (Muslims can't be Vegetarian?)ในด้านของอิสลาม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารที่มุสลิม ควรจะบริโภคต้องเป็นอาหารที่ฮาลาล เราควรจะทราบว่าส่วนประกอบในอาหารมีอะไรบ้าง จะเห็นได้ว่าร้านอาหารเจบางร้านก็ติดสติ๊กเกอร์ฮาลาล เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่ามุสลิมทานได้ เราไม่ควรตัดสินใจอะไรแค่ภายนอก แม้ว่าในอาหารเจไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ก็ตาม แต่กรรมวิธีในการนำมาปรุงนั้นต้องถูกตามหลักการอิสลามด้วย ทางที่ดีไม่ควรซื้อมารับประทาน เพราะถ้าเราไม่ทราบถึงกระบวนการผลิตว่าได้ผลิตตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักของศาสนา หรือไม่ก็จะเป็นการคลุมเครือ สงสัย แม้กระทั่งภาชนะที่นำมาใส่เราก็ไม่ทราบที่มาที่ไปได้ แม้ว่าเค้าจะไม่มีอาหารประเภทสัตว์อยู่ในอาหารเจก็ตาม เพราะฉะนั้นเลือกที่ไม่บริโภคเป็นดีที่สุด

จึงสรุปได้ว่า ที่มาของอาหารเจเป็นเรื่องศาสนา หรือเป็นความเชื่ออย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อพื้นฐานของอาหารเจเป็นเรื่องของศาสนา มุสลิมจึงไม่สามารถเข้าไปร่วมเทศกาลการกินเจ หรือซื้ออาหารเจมารับประทานได้เลยแม้แต่น้อย เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า “لَكُمْ دِيْنُكُمْ وَلِيَ دِيْنِ ” ความว่า “ สำหรับพวกท่าน คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันคือศาสนาของฉัน” (สูเราะฮฺอัลกาฟิรูน : 6) ฉะนั้นเรื่องของศาสนาพุทธ เช่นเรื่องการรักษาศีล 8 ก็เป็นเรื่องของชาวพุทธที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติกัน ส่วนเรื่องการกินเจ เป็นเรื่องของพี่น้องชาวจีน ซึ่งต้องการทำให้ตนเองบริสุทธิ์โดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ นั่นก็เป็นเรื่องของพวกเขา โดยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกิจกรรมการกินเจ หรือซื้ออาหารเจมารับประทานก็ตาม


credit:
http://www.thaimuslim.com
http://www.mureed.com
http://www.oknation.net

Saturday, September 3, 2011

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 5 (South indian foods : Episode 5)


อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 5
(South Indian Foods : Episode 5)



เครื่องดื่ม (Beverages)

อย่าหวังว่าจะได้กินน้ำเย็นจัดหรือได้กินน้ำแข็งในอินเดีย เพราะเครื่องดื่มที่นิยมคือเครื่องดื่มร้อนจำพวกชา กาแฟ อาจหาได้บ้างในร้าน Pizza hut แต่เขาจะให้ถ้วยละ 1 ก้อนเท่านั้น นัยว่ากลัวเราจะเป็นหวัด ไม่เช่นนั้นก็ต้องเป็นน้ำผลไม้หรือน้ำอัดลมในกระป๋อง กล่อง และขวด ร้านขายน้ำมีอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่จะเปิดอยู่ในห้องแถว มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งพักได้

ชาและกาแฟ คนอินเดียในทุกภูมิภาคนิยมดื่มชาในชีวิตประจำวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ และหลังมื้ออาหาร ในอินเดียใต้ก็ไม่แพ้กัน ชาของอินเดียใต้ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น คือเป็นชาใส่นมสดผสมมาซาล่า (ผงเครื่องเทศรสเผ็ดร้อน) นิยมดื่มร้อนๆ ตามรถเข็นจะใส่แก้วใสสูงประมาณ 2- 3 นิ้วฟุต ยืนจิบและคืนแก้วกันตรงนั้นได้เลย ส่วนในร้านเครื่องดื่มจะมีแก้วกระดาษให้เลือกสองขนาด จะกินที่ร้านหรือถือติดมือไปด้วยก็ได้ ในร้านอาหารชาและกาแฟจะมาแบบร้อนจัดในถ้วยโลหะทรงสูงซ้อนบนถ้วยทรงเตี้ย วิธีกินคือถ่ายชาหรือกาแฟจากถ้วยทั้งสองใบสลับไปมาสักสี่ห้ารอบเพื่อให้ความร้อนคลายลงแล้วค่อยดื่ม

ชาและกาแฟในอินเดียปกติจะใช้นมสดร้อนชงแทนน้ำร้อน ใส่น้ำตาลมาให้พร้อม รสชาติหวานจับใจ ถ้าไม่ชอบก็สั่งได้ แต่ถ้าอยากกินกาแฟดำบางร้านอาจไม่ถนัด เคราะห์ไม่ดีอาจพบกาแฟในแก้วใสทรงสูงมาเต็มแก้วด้วยรสชาติจืดชืด

หากไปถึงเจนไนแล้ว คอกาแฟไม่ควรพลาดเด็ดขาด เพาะทมิฬนาฑูเป็นแหล่งผลิตกาแฟชั้นดีของอินเดีย ซึ่งจะหาได้ทั่วไปจากร้านเครื่องดื่มและร้านอาหาร

ลาสซี่ (Lassi) คือโยเกิร์ตปั่นมีให้เลือกทั้งแบบเค็มและหวาน หรือจะปั่นผลไม้สดจำพวกมะม่วง กล้วย ฯลฯ รวมไปด้วยก็ได้ ลาสซี่ทุกเจ้าที่ได้กินจะมีความเย็นแบบเอาน้ำไปแช่ตู้เย็น คือจะไม่มีทางได้เห็นน้ำแข็งในแก้วลาสซี่เด็ดขาด ราคาของลาสซี่ในอินเดียใต้ถูกกว่าในร้านอาหารแขกบ้านเราเป็นเท่าตัว หากใครชอบลาสซี่ก็มาถูกที่แล้ว

น้ำผลไม้ มีผลไม้ให้เลือกมากมายในอินเดียใต้ เช่น องุ่น แอบเปิ้ล มะนาว ส้ม สับปะรด ฯลฯ เลือกได้ตามใจชอบ แต่อย่างหนึ่งที่เห็นคือน้ำส้ม หลายร้านจะมีส้ม (ซาตุกุดี-Sathukudi/ Mosambi) ใส่ถุงตาข่ายแขวนเป็น

ซาติกุดี
พวงอยู่หน้าร้าน และเป็นอย่างเดียวที่เห็นว่ามีรถเข็นขายเฉพาะ เขาจะคั้นส้มเช้งสดๆ แล้วเปิดกล่องน้ำแข็งก้อนออกมาทุบก่อนปั่นไปด้วยกัน ใส่เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย รสชาติหวานอมเปรี้ยว ราคาถูกแสนถูกเมื่อเทียบกับแถวเยาราช แต่น้ำผลไม้ที่เย็นที่สุดก็มีชะตากรรมเหมือนลาสซี่เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี น้ำละมุด (Sapotta)

น้ำทับทิม (Madulai) น้ำนมอัลมอนด์ (บาดัมมิลค์ -Badam Milk) ฯลฯ หรือจะลองเครื่องดื่มในเครือโคลา-โคล่า อาทิ น้ำมะม่วงบรรจุขวดยี่ห้อ Maaza น้ำมะนาวซ่ายี่ห้อ Limca น้ำส้มยี่ห้อ Minute Maid ก็ชื่นคอดี

หากเดินเล่นอยู่ในห้างสเปนเซอร์ ตู้ขายน้ำมะนาวโซดา “The Real Fresh” รสชาติจี๊ดจ๊าดสะใจเลยทีเดียว

น้ำอัดลม น้ำอัดลมในเครือโคค่า-โคล่า และเป๊ปซี่ มีให้เลือกเหมือนบ้านเรา ที่น่าลองคือ Thums Up หรือโค้กอินเดีย ที่มีกลิ่นเครื่องเทศนิดๆ ได้รสชาติแขกๆ ดีแท้

เครื่องดื่มสุขภาพ ยี่ห้อ Boost และ Horlicks เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เทียบได้กับโอวัลตินหรือไมโลในบ้านเราที่นิยมดื่มตอนเช้าหรือก่อนนอน บูสต์เป็นเครื่องดื่มในเครือเนสเล่ มีทั้งบรรจุขวดและกล่อง จุดขายคือมีวิตามินและสารอาหารเป็นส่วนผสม ส่วนฮอร์ลิคก์มีจุดขายอยู่ที่ส่วนผสมจากมอลต์ (Malt) ฮอร์ลิคก์มีฐานผลิตสำคัญอยู่ในอังกฤษ จาไมก้า และอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียใต้มีฮอร์ลิคก์จากโรงงานในรัฐอานธระประเทศจำหน่ายอยู่ทั่วไป ในหมวดเครื่องดื่มของร้านอาหารหลายแห่งมักมีบูสต์และฮอร์ลิกก์ให้เลือกเสมอ
นมถั่วเหลือง พบเห็นได้ในรูปนมถั่วเหลืองแบบกล่องตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่รสชาติเทียบไม่ติดกับไวตามิลค์บ้านเราเลย น่าจะมีใครลองไปทำตลาดดูบ้านก็ไม่เลวเลย สำหรับตลาดที่มีชาวมังสะวิรัติ 700 ล้านคนอย่างอินเดีย


credit: เอกสาร "อินเดียใต้" ของ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

Friday, August 26, 2011

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 4 (South indian foods : Episode 4)

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 4
(South Indian Foods : Episode 4)



ของว่าง (Dessert)

ซาโมซา (Samosa) หรือกะหรี่ปั๊บ แต่ใส่เครื่องเทศแรงกว่าบ้านเรามาก รูปร่างเหมือนขนมบะจั่งเป็นแป้งทอดมีไส้ต่างๆ ที่นิยมกันคือไส้มะเขือเทศ หัวหอม ถั่ว


ปาโกดะ (Pakoda) เป็นผัก (หรือไก่) สองสามชนิดรวมกันแล้วชุบแป้งทอด ส่วนใหญ่มักจะไม่ขาดหัวหอม นอกนั้นคือมันฝรั่ง มะเขือเทศ พริก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่ว ฯลฯ นิยมกินกับน้ำชาเป็นของว่าง บางทีกินเป็นออเดิร์ฟจานแรกในมื้ออาหาร เป็นเครื่องเคียงแทนเฟรน์ฟราย หรือจะกินเป็นอาหารมื้อหลักเลยก็ยังได้ แป้งเทมปุระของไทยน่าจะลองมาทำตลาด รับรองขายดี


ขนมหวาน (Sweet)

ขนมหวานอินเดียมีชื่อเรียกว่า มิตได (Mithai) เกือบทั้งหมดจะมีส่วนประกอบของนมและน้ำตาล หากแบ่งประเภทขนมหวานแบบอินเดียก็จะได้ 2 สกุลใหญ่ๆ คือ จำพวกที่มีฐานจากนม เช่น กุหลาบจามูร ราสมาลัย อีกพวกคือสกุลบูรฟี ที่มีฐานมาจากเนย (chese) ขนมแบบที่พบได้ทั่วอินเดียก็คือ khree บูรฟี ฮัลวา ลัดดุ และปีดะ (Peda) แต่อาจมีรูปร่างหน้าตา ชนิดของส่วนผสม และชื่อเรียกแยกย่อยต่างกันตามแต่ละภูมิภาค

อลูติกกี้ (Aloo Tikki -ภาษาฮินดีเรียก Tikiya)
อลูติกกี้ (Aloo Tikki -ภาษาฮินดีเรียก Tikiya) ของว่างอินเดียเหนือ ปกติพบเหนือเดลีขึ้นไป เป็นมันฝรั่งต้มผสมเครื่องเทศ เสิรฟร้อนพร้อมน้ำจิ้มมะขามและโยเกิร์ตเขียว ในรัฐทมิฬหากินได้หลายร้าน บางร้านก็มีถั่วชิกพี (Chick Pea) ราดมาด้วย

กุหลาบจามูร หรือกุหลับจะมัน(Gulab Jammon)
กุหลาบจามูร หรือกุหลับจะมัน(Gulab Jammon) มาในลูกกลมๆ สีน้ำตาลแช่ในน้ำเชื่อมกุหลาบเข้มข้น รสชาติคล้ายทองหยอด หวานฉ่ำๆ แบบหยุ่นๆ เช่นเดียวกัน บางคนเปรียบว่าเหมือนกินฟองน้ำ

ราสมาลัย (Ras Malai)
ราสมาลัย (Ras Malai) เป็นก้อนกลมขาวๆ แช่อยู่ในน้ำนม ตัวราสมาลัยเองทำมาจากนมสด น้ำตาล และเครื่องเทศ มีถั่วอัลมอนล์ฝานบางๆ โรยหน้า เนื้อของราสมาลัยจะฟ่ามๆ แต่หวานแสบไส้ไม่แพ้กุหลาบจามูร กินขณะเย็นจะอร่อยเหาะเลย

ฮัลวา (Halwa) หรืออะลัว
ฮัลวา (Halwa) หรืออะลัวที่คนไทยคุ้นเคย เป็นขนมที่แตกต่างหลากหลายกันไปทั่วภูมิภาคเอเชีย ในอินเดียเองก็มีฮัลวาหลายชนิด ที่นิยมกันก็มักจะมีส่วนผสมของจากแป้งสาลีลักษณะเดียวกับที่ใช้ทำพาสต้า สามารถนำผัก ผลไม้ มาผสมฮัลวาได้หลายอย่าง ฮัลวาแครอท (Gajar Halwa) เป็นแบบหนึ่งที่นิยมในอินเดียใต้ รูปร่างหน้าตาฮัลวามีทั้งแบบเป็นเส้นขดกลมๆ หรือแบบตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ

บูรฟี (Burfi/Barfi)
บูรฟี (Burfi/Barfi) ขนมหวานสไตล์อินเดียและปากีสถาน ในอินเดียใต้ขนมกว่าครึ่งจัดอยู่ในสกุลของบูรฟี บูรฟีธรรมดาทำจากนมผสมน้ำตาลรอจนจับตัวเป็นก้อนแข็ง ที่นิยมกันคือบูรฟีเม็ดมะม่วงหิมพานต์ บางคนกินบูรฟีแล้วรู้สึกเหมือนกินชีสเค้ก ดังชื่อเรียกลำลองของขนมนี้ บูรฟียังใช้เป็นขนมในเทศกาลสำคัญโดยเฉพาะช่วงโฮลี่ด้วย

ปายะซัม (Payasam) หรือ Khree
ปายะซัม (Payasam) หรือ Khree ในภาษาฮินดี มีส่วนผสมของข้าว นม น้ำตาล ในภาคใต้ใช้กะทิแทนนม นิยมใส่ลูกเกดและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วย เป็นขนมที่มีตำนานและประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับพระกฤษณะ นิยมใช้ถวายเทพเจ้าในวัดทางใต้ ปายะซัมเป็นขนมโบราณ แต่เดิมในอินเดียใต้ถือว่างานแต่งใดที่ยังไม่เสิร์ฟปายะซัมแปลว่างานนั้นยังไม่สมบูรณ์

ลัดดุ (Laddu)
ลัดดุ (Laddu) เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในงานเทศกาลและงานมงคล ทำง่าย และนิยมทั่วไป หน้าตาเป็นถั่วปั้นก้อนกลมๆ สีเหลือง เนื้อหยาบๆ ชุบเคลือบด้วยน้ำเชื่อม ในอินเดียใต้มักเรียกล้อเด็กแก้มยุ้ยๆ ด้วยชื่อขนมนี้

กูลฟี (kulfi) ไอศกรีมแขก หวานและเย็นด้วยนมและเครื่องเทศ

ไอศกรีม แม้เราจะหาน้ำแข็งได้ยากเย็นในอินเดียใต้ แต่ไอศกรีมมาตรฐานสากลมีอยู่ทุกหนแห่ง ที่ดังๆ ก็เห็นมีอยู่จ้าวเดียวคือ wall ทั้งแบบแท่ง แบบตู้แช่ แบบเปิดเป็นร้านเฉพาะ ไอศกรีมรสยอดนิยมทั่วโลกเช่นวนิลา ชอกโกเลต สตอเบอรี่ มีไว้บริการตลอดในร้านอาหารใหญ่ๆ แต่ไปถึงเมืองแขกที่มีถั่วและนมคุณภาพดี ลองหารสชาติถั่วหรือผลไม้พื้นเมืองที่ผสมอยู่ในไอศกรีมมาลองชิมก็ไม่เลว ที่แนะนำว่าไม่น่าพลาดคือรสมะม่วงและพิสตาชิโอ


credit: เอกสาร "อินเดียใต้" ของ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

Sunday, August 21, 2011

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 3 (South Indian Foods : Episode 3)


อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 3
(South Indian Foods : Episode 3)



เครื่องเคียง


ซัมบาร์ (Sambar)

ซัมบาร์ (Sambar) เป็นแกงผักจานสามัญในอาหารอินเดียใต้และศรีลังกา จิ้มหรือราดกับอาหารจำพวกแป้งได้ทุกชนิด มักเสิร์ฟมาในถ้วยโลหะเล็กๆ เห็นหน้าตาแล้วบางคนอาจนึกเทียบสตูหรือเกรวี่ "ซัมบาร์" ในอินเดียใต้ เทียบได้กับ "แกงดาล" ในอินเดียกลางและเหนือ


ซัมบาร์ (Sambar) ซัมบาร์ทำมาจากเครื่องเทศ และผักกว่าสิบชนิดที่เคี่ยวกรำนานหลายชั่วโมงจนเนื้อผักเปื่อยยุ่ย ส่วนประกอบก็เช่น พริกแห้ง พริกไทยดำ ถั่ว น้ำมันมะกอก กานพลู ขมิ้น ฯลฯ ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ ที่ขาดไม่ได้คือน้ำมะขามเปียก ที่จะทำให้ได้รสโปร่งโล่ง อบอวลไปด้วยสมุนไพร ผักที่นำมาปรุงก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และความชอบ อาทิ กระเจี๊ยบ แครอท ฟักทอง ดอกกะหล่ำ แต่ส่วนใหญ่มักไม่ขาดหอมใหญ่ มะเขือเทศ มันฝรั่ง
เป็นที่น่ายินดีว่า คนอินเดียรุ่นใหม่เริ่มหันมานิยมรับประทานแกงไก่ของไทย ร่วมกับ นาน และ จาปาตี กันมากขึ้น นัยว่ารสชาติเข้มข้นกว่ากันมาก เครื่องแกงกระป๋องที่ไปทำตลาดในอินเดีย ต้องเน้นจุดขายว่าให้รับประทานคู่กับนานหรือจาปาดี แซปอย่าบอกใครเลยนายจ๋า

ชัดนี่ (Chutney)

ชัดนี่ (Chutney)ชัดนี่ (Chutney) เป็นเครื่องปรุง หรือเครื่องเคียงจำพวก หมัก หรือ ดอง ที่ขาดไม่ได้ในสำรับอินเดีย มองดูละม้ายน้ำพริกหนุ่ม รสชาติครบเครื่องทั้ง เปรี้ยวหวาน มัน เผ็ด ปกติแล้วชัดนี่จะปรุงสดๆ จากผักหรือผลไม้ประจำฤดูกาลผสมเครื่องเทศ บางทีก็มาในรูปแบบของดอง เช่น ขิงดอง หอมแดงดอง บ้าง ก็จะคล้ายกับซอสมะเขือเทศผสมพริกไทย ที่เรียกว่า ซัลซา (Salsa)

ในละตินอเมริกัน หรือคล้ายซอสต่างๆของยุโรป เทียบกับบ้านเราคงเป็นซอสพริกเนื้อหยาบๆ ส่วนใหญ่ที่นิยมและเห็นได้ทั่วไปในอินเดียใต้ก็คือ ชัดนี่มะพร้าว ชัดนี่มะเขือเทศ และชัดนี่สะระแหน่ ที่เรียกว่า ฮารีชัดนี่ (Hari ในภาษาฮินดีหมายถึงสีเขียว) นอกนั้นก็มีอยู่หลากหลายทั้งชัดนี่หอมแดง มะขาม(เปียก) มะเขือยาว มะเขือเทศ มะม่วงดิบ มะนาว ที่หรูหราจำพวกพีช หรือแอปเปิ้ลก็มี แต่มักไม่พบเห็นตามท้องถนน ตามร้านอาหารทั่วไป มักเสิร์ฟชัดนี่อย่างใดอย่างหนึ่งมาในถาดหลุม รวมกับอาหารประเภทแป้ง และซัมบาร์ แต่ในร้านระดับภัตตาคารจะมีชัดนี่หลายๆ แบบใส่ถ้วยเล็กๆ เรียงใส่ถาดมาให้ลิ้มลองตามชอบ หลายๆ ร้านมีชัดนี่สูตรเฉพาะเป็นจุดขาย

ไรถะ, ไรธา, ไรตา (Raitha/Raita)ไรถะ, ไรธา, ไรตา (Raitha/Raita)

ไรถะ ไรธา หรือ ไรตา (Raitha/Raita) แล้วแต่จะเรียกตามความถนัด เครื่องเคียงที่พบได้ทั่วไปในอินเดีย ใช้นมเปรี้ยวเป็นฐาน มีรสเย็นตัดกับเครื่องเทศเผ็ดร้อนในจานอื่นๆ ผักที่นำมาผสมเป็นไรธา โดยมากจะมีรสและฤทธิ์เย็น เช่น แตงกวา สะระแหน่ มะเขือเทศ หัวหอม แต่บางตำราก็ว่า ถ้าเป็นไรธาแบบดั้งเดิมตามตำรับอายุรเวท จะไม่ใช้แตงกวา เพราะเชื่อว่าการกินแตงกว่าผสมนมเปรี้ยวไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย

ปาชาดิ (Pachadi)ปาชาดิ (Pachadi)

ปาชาดิ (Pachadi) เป็นเครื่องเคียงอีกจานหนึ่งที่หน้าตาละม้ายคล้ายไรธา คำนี้เป็นภาษาเตลูกู ความหมายและนิยามของปาชาดีแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่น ในทมิฬนาฑูมักหมายถึงเครื่องเคียงที่มีส่วนผสมของกะทิแทนนมเปรี้ยว มีเครื่องเทศผสม และอาจจะมีมะม่วง ผลไม้ขึ้นชื่อของแถบนี้ผสมลงไป

ข้าวเกรียบปาปัด (Papad)

ข้าวเกรียบปาปัด (Papad) หลายคนกินอาหารอินเดียมื้อแรกๆ ก็ยังอร่อยอยู่ แต่พอหลายมื้อเข้าเริ่มอยากหาอะไรกรอบๆ มาเคี้ยวบ้าง เมนูที่นิยมกันก็คือข้าวเกรียบ จะหามากินเล่น กินลำพัง หรือจิ้มแกงแทนแป้งและข้าวเลยก็ยังได้

ข้าวเกรียบวาดัม (Vadam)
ข้าวเกรียบวาดัม (Vadam) ทำจากแป้งข้าวจ้าวแผ่นบางเฉียบขาวสวย มักจะมีเม็ดงาโรยอยู่ในเนื้อแป้งเสมอ

ขนมกง

หน้าตาเหมือนขนมกงบ้านเราเปี๊ยบอย่างกับฝาแฝด ส่วนใหญ่จะหากินได้นอกเมืองเจนไนเป็นส่วนใหญ่

ขนมว่าว (Appalam)

ขนมว่าว (appalam) หากินได้บ้างในเจนไน แต่แถวนิวเดลีหากินได้ง่ายกว่า

ซุป (Indian Soup)

ซุป (Indian Soup) หากจะเริ่มมื้ออาหารด้วยซุปร้อนๆ สักถ้วย ในอินเดียใต้ก็ทำซุปได้รสชาติไม่เลว และมีให้เลือกอยู่หลายอย่าง เช่น ซุปผัก ซุปมะเขือเทศ ซุปข้าวโพด ซุปหัวหอม เขตภาคใต้ยังคงทำเกษตรกรรมกันอยู่มาก พืชผักผลไม้อุดมสมบูรณ์ ผักในซุปที่ผสมรวมกับเครื่องเทศอย่างเหมาะสม ช่วยให้อุ่นท้องได้ดีทีเดียว แต่สังเกตให้ดีก่อนสั่ง เพราะซุปบางเมนู ก็มีเฉพาะบางมื้อ หรือบางเวลาเท่านั้น

ราซัม (Rasam) ราซัม (Rasam)

ราซัม (Rasam) เป็นซุปอินเดียอีกแบบหนึ่งที่ต้มถั่วเลนทิลผสมพริกไทย ใส่เม็ดผักชี ขมิ้น และเครื่องเทศต่างๆ ในร้านอาหารอินเดียบ้านเราบางแห่งก็มีในเมนูในชื่อเรียกว่า “น้ำพริกไทย”

สลัด (Indian Salad)
สลัด (Indian Salad) สลัดในอาหารแขก ไม่ใช่สลัดแขกแบบโรยด้วยมันเทศทอดกรอบแล้วราดด้วยน้ำถั่วบดเปรี้ยวๆ หวานๆ อย่างที่เห็นในร้านมุสลิมบ้านเรา เพราะหากเราสั่งสลัด สิ่งที่ได้มาคือหัวหอมแดง มะเขือเทศ แครอท และไชเท้า หั่นเป็นแว่นเรียงแถวกันมาโดยไม่มีน้ำสลัดใดๆ


credit: เอกสาร "อินเดียใต้" ของ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

Wednesday, August 17, 2011

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 2 (South Indian Foods : Episode 2)

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 2
(South Indian Foods : Episode 2)


อาหารโดยทั่วไปที่ชาวอินเดียทางตอนใต้ รับประทานก็จะคล้ายกับชาวอินเดียในแถบภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารอินเดียที่ทำจากข้าว ชาวอินเดียใต้นิยมกินข้าวมากกว่าอินเดียทางตอนเหนือ อันเนื่องมาจากทางอินเดียใต้ มีแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศอินเดียนั่นเอง อาหารหลักๆของชาวอินเดียใต้จึงเป็นเมนูข้าวเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเมนูอาหารอินเดียใต้ต่างๆ ดังต่อไปนี้



ข้าวBiryani - บิริยานี่
ทมิฬนาฑูเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญอันดับต้นๆ ของอินเดีย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ชาวทมิฬชอบรับประทานข้าว มากกว่าชาวอินเดียเหนือ อาหารที่เห็นเป็นเม็ดข้าวชัดเจนคืออาหารจานเดียวที่เรียกว่า บิริยานี่ (Biryani) นอกจากนั้นก็ต้องสั่งข้าวผัด หรือข้าวหุงผสมเครื่องเทศต่างๆ จะกินลำพังหรือกินกับเครื่องเคียงก็ได้ ที่แปลกตาคือเขาใช้ข้าวบัสมาติ เม็ดเรียวเล็ก แข็งร่วน และยาวกว่าข้าวบ้านเราเกือบเท่าตัว


บิริยานี่ (Biryani)

บิริยานี่ (Biryani) คือข้าวหมกไก่หรือข้าวหมกเนื้อแพะ (คนอินเดียกินไก่กับแพะเป็นหลัก เนื้ออย่างอื่นแทบจะไม่กินเลย) สูตรบิริยานี่จานที่มีชื่อเสียง ต้องเป็นสูตรบิริยานี่ของเมืองไฮเดอราบัด ซึ่งได้ชื่อตามเมืองไฮเดอราบัด ในรัฐอานธรประเทศที่ว่ากันว่า ทำบิริยานี่ได้อร่อยเหาะแซปที่สุดในโลก บิริยานี่จัดเป็นอาหารจานเนื้อ (non- vet) พบได้ทั่วไปทั้งไก่และแพะ

Egg Biryani - บิริยานี่ ไข่ต้มแต่ถ้าไม่อยากกินเนื้อสัตว์และไม่เคร่งครัดนัก เลือกบิริยานีไข่ต้มก็ได้ สีของบิริยานีจะออกโทนน้ำตาลจากเครื่องเทศ ไม่เหลืองจัดเหมือนข้าวหมกที่คนไทยคุ้นเคย แต่ได้รสของเครื่องเทศร้อนแรงที่คลุกเคล้ามาอย่างเมามัน เครื่องเคียงที่เสริฟ์มาพร้อมกันคือไรธะ (นมเปรี้ยวผสมหอมแดงซอย) และเครื่องปรุงที่เป็นน้ำสีน้ำตาลในถ้วยโลหะ ส่วนใหญ่ร้านที่ขายบิริยานี คือร้านมุสลิม จึงจะได้รสชาติบิริยานี่แท้ๆ นักเรียนไทยนิยมเมนูกันมาก เพราะกล้อมแกล้มว่าคล้ายอาหารไทยมากที่สุด

บางร้านที่ขายบิริยานี่อาจมีเมนู ไก่ทันดูริซึ่งเป็นไก่ย่างแห้งๆ สีแดงๆ โดยวิธีอบในโอ่งดินเผา แบบทางอินเดียเหนือให้ลิ้มลองด้วย รสชาติชวนให้คิดถึงไก่ย่างน้ำตกบ้านเรา (แต่ไม่ยักมีข้าวเหนียวส้มตำ) อีกเมนูหนึ่งคือ ไก่ 65 เป็นไก่ทอดผสมเครื่องเทศแบบกรอบนอกนุ่มใน อร่อยอย่าบอกใครเชียว

ข้าวผัด (Fried rice)

นับเป็นอาหารสวรรค์สำหรับคนไทยที่จากบ้านมาหลายวัน จะเป็นข้าวผัดแห้งๆ แบบกึ่งผัดกึ่งคั่ว รสชาติจืดๆ มันๆ เผ็ดเล็กน้อยเพราะเขาจะใส่พริกและเครื่องเทศลงไปผัดรวมด้วย ปกติแล้วจะเป็นข้าวผัดผัก ถ้าอยากกินไข่ต้องสั่งพิเศษ หากต้องการเนื้อก็เลือกสั่งได้เลยว่าจะเป็นไก่หรือแพะ แต่ยังไม่เคยเห็นข้าวผัดหมูเลย

ข้าวผัดเนย หรือปูลอ (Pulao)

Makhana Pulao -  ปูลอ (ข้าวผัดเนย) ใส่เม็ดบัวข้าวผัดเนย หรือปูลอ เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่จะพบเห็นได้ทั่วไป คือข้าวผัดเนยใส่เครื่องเทศต่างๆ ข้าวจะจับตัวกันเป็นก้อนๆ นิ่มและนุ่ม บางร้านอาจเละจนคล้ายข้าวต้มแห้งๆ มีให้เลือกได้หลายอย่าง เช่น ข้าวผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวผัดเห็ด ฯลฯ ข้าวผัดจะมีรสเผ็ดนิดๆ จากพริกไทยและเครื่องเทศ ถ้าไม่กินเผ็ดควรสั่งสำทับ

(*Makhana is Lotus seeds or Lotus nuts / หรือ เม็ดบัว นั่นเอง)

ข้าวปงกัล (Pongal)

ข้าวปงกัล (Pongal) ส่วนใหญ่ “ปงกัล” จะหมายถึงเทศกาลข้าวใหม่ อันเป็นเทศกาลขอบคุณเทพเจ้าแห่งกสิกรรมที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญในอินเดียใต้ แต่หากพบเห็นเมนูนี้ในร้านอาหาร ก็จะหมายถึงข้าวหุงผสมกับผักและเครื่องเทศ เครื่องปรุงต่างๆ เช่น ขิง พริกไทย ขมิ้น ฆี (เนยใส) ปงกัลมีให้เลือกหลากหลาย อาทิ ข้าวผสมมะเขือเทศ ข้าวผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อาหารในลักษณะนี้จะมาในแบบของข้าวต้มเขละๆ คลุกเคล้าเครื่องเทศและเครื่องปรุงต่างๆ อยู่ในเนื้อเดียวกัน จะกินลำพัง หรือกินกับ ซัมบาร์ และชัดนี่ ก็ได้ ตัวอย่างเช่น Tamarind Rice ในบางร้านก็จะเป็นข้าวหุง ผสมน้ำมะขามเปียก ปรุงเครื่องเทศ ใส่เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วต่างๆ

ข้าวปงกัล (Pongal)เมนู ข้าวปงกัล / Pongal Recipe »

(Pongal is the most important festival of South Indians. Pongal celebrations extend for four days. God is praised by man on these days with utmost devotion and sincerity. It is celebrated in south India to usher in the new year with immense gratitude, joy and amity. Pongal is a South Indian dish which is popularly cooked during this festival. There are two main varieties of pongal, namely sarkarai or sweet pongal and kara or spicy pongal. Kara pongal is called Ven pongal in Tamil Nadu and Huggi in Karnataka. The divine rice which is boiled with milk and jaggery in the festival is also called pongal.)

จานเด็ดอีกจานหนึ่งคือ บิซิเบเละบาท (Bisi Bele Bhath) ซึ่งเป็นจานเอกลักษณ์ของรัฐกรณาฏกะ ทางตะวันตกของทมิฬนาฑู แปลศัพท์ภาษากรณาฏกะ จากชื่อ “Bisi –Bele- Bhath” ได้ว่า “ร้อน-ถั่วเลนทิล –ข้าว” หน้าตาเป็นข้าวต้มผสมผักเขละๆ สีเหลืองขมิ้น มีรสเครื่องเทศและน้ำมะขามเปียกผสมผักต่างๆ อย่างเต็มๆ


credit: เอกสาร "อินเดียใต้" ของ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

Friday, August 12, 2011

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 1 (South Indian Foods : Episode 1)

อาหารอินเดียใต้ ตอนที่ 1
(South Indian Foods : Episode 1)


เอกลักษณ์ของอาหารอินเดียใต้คือ การเปิบด้วยมือขวา จากใบตองที่ปูบนโต๊ะแทนจาน ลักษณะเช่นนี้ยังมีให้เห็นตามร้านอาหารทั่วไป ศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้า และงานเลี้ยงแต่งานของชาวบ้านธรรมดา

แต่ในโรงแรมหรืองานแต่งงานของผู้มีฐานะดี จะเสิร์ฟในถาดและมีช้อนส้อมให้ด้วย ตามร้านอาหารระดับหรู เช่น ร้าน Karaikudi จะมาในรูปของถาดมีใบตองรองอีกชั้น บางร้านเป็นถาดเรียบๆ มีถ้วยโลหะเล็กๆ ใส่เครื่องเคียงวางเรียงมา บางร้านใช้ถาดหลุม มีทั้งแบบโลหะและพลาสติกเนื้อแข็ง นักท่องเที่ยวมักจะได้รับช้อนส้อมมาด้วยเสมอ

น่าแปลกใจว่าวัฒนธรรมการกินของทมิฬนาแท้ๆ ดูคล้ายของไทยในอดีตไม่น้อย จากภาพจะเห็นว่าอาหารจะถูกเสริฟบนใบตอง (สมัยก่อนก๋วยเตี๋ยวบ้านเราก็ห่อใบตองเหมือนกัน) มีข้าวหมกไก่บิริยานี่ (Biryani) อยู่ตรงกลาง ข้างช้าย มีไก่ย่าง (ชิกเกนตนโดริ) แป้งทอดใส้มันบด ถ้วยใส่น้ำจิ้มทำด้วยโยเกิตและหอมแดงฝาน ถัดไปด้านบนเป็นแกงไก่ แกงเจใส่ผงกะหรี่มัสซาราสีแดง มัสหมั่น และไก่ผัดซีอิ้ว ส่วนด้านขวาคือขนมว่าว (เหมือนของไทยเปี๊ยบ) เวลารับประทานก็เปิบด้วยมือขวา ส่วนท่านที่ถนัดใช้ช้อนก็ไม่ว่ากัน

เนื่องจากในภูมิภาคนี้นับถือฮินดูเป็นหลัก อาหารจึงแบ่งเป็นสองหมวดชัดเจนคือ มังสวิรัติ (vegetarian food) และไม่ใช่มังสวิรัติ (non-vegetarian food) ซึ่งมีให้เราเลือกตั้งแต่บนเครื่องบิน

อาหารแต่ละจาน (หรือถาด) จะประกอบด้วยสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ แป้ง (หรือข้าว) แกงผัก และเครื่องเคียง หลังมื้ออาหารอาจหาขนมสารพัดชนิดมาลองชิม ก่อนตบท้ายด้วยชา กาแฟ หรือไอศครีมรสดี

เอกลักษณ์ของอาหารในอินเดียใต้
เอกลักษณ์ของอาหารในอินเดียใต้ก็คือ ถั่วเลนทิส (lentil) ในขณะที่ภูมิภาคเหนือขึ้นไปนิยมใช้ถั่วดาล รสชาติอาหารทางใต้จะออกรสเปรี้ยวกว่าทางเหนือ แต่ที่เหมือนกันทั้งทางเหนือและทางใต้คือ จะนิยมใส่ผง Masala ในอาหารแทบทุกชนิด อย่างที่เรามักจะได้กลิ่นอาหารแขกส่วนใหญ่ก็เป็นกลิ่นมาซาล่านี่เอง

ราคาอาหารพอๆ กับอาหารจานเดียวในบ้านเรา ถ้าอยากประหยัดหรือกินน้อยก็หามื้อละ 10 -20 บาทตามรถเข็นหรือแผงลอยได้ตามสองข้างทาง ซึ่งมักเป็นอาหารมังสะวิรัติในร้านอาหารทั่วไปอาจจะตกมื้อละ 25-35 บาท หรือหากชอบอาหารแขก อยากลองหลายๆ แบบในบรรยากาศสบายๆ หนึ่งอิ่มในร้านอาหารสาขาก็น่าจะตกอยู่ราว 35-70 บาท หากเทียบกับราคาอาหารอินเดียในเมืองไทย พบว่าถูกกว่ากันราวครึ่ง บางแห่งถึงหนึ่งในสามเลยก็มี

ปกติแล้วชาวทมิฬและชาวอินเดียทั่วไปจะกลับไปกินข้าวกลางวันที่บ้าน หรือไม่เช่นนั้นก็จะมีปิ่นโตติดมาจากบ้าน หรือมีผู้รับบริการจัดส่งปิ่นโตจากบ้านมาส่งให้ อย่าแปลกใจที่เห็นปิ่นโตขนาดใหญ่ อยู่ทั่วไปตามสถานที่ราชการ และห้างร้านต่างๆ

credit: เอกสาร "อินเดียใต้" ของ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ

Thursday, July 28, 2011

นาน (Naan)

Naan is a leavened, oven-baked flat-bread. It is typical of and popular in South and Central Asia,in Iran, and in South Asian restaurants abroad. Influenced by the large influx of South Asian labour, naan has also become popular in Saudi Arabia and other Persian Gulf states.

Originally, naan is a generic term for various flat-breads from different parts of the world. In Turkic languages, such as Uzbek, Kazakh and Uyghur, the flatbreads are known as nan. The name stems from (New) Persian, a generic word for bread. In Burmese, flatbreads are known as nan bya. In South Asian languages, naan appears as नान (Hindi), نان (Urdu/Persian), ਨਾਨ (Punjabi).

นาน (Naan)นาน (Naan) อาหารประเภทแป้งที่ใช้รับประทานร่วมกับอาหารจานหลักอื่นๆ เป็นประเภทเดียวกับโรตีและจาปาตี แตกต่างกันที่แป้งและวิธีการทำนิดหน่อย คนอินเดียรับประทานอาหารจำพวกแป้งเหล่านี้เป็นหลัก เช่นเดียวกับที่เรารับประทานข้าวกับอาหารอื่นๆ

ดั้งเดิมนั้นนานทำมาจากแป้งที่อบในเตาแทนดอรี เตาแบบเดียวกับที่ใช้อบไก่แทนดอรี แต่ก็สามารถใช้เตา หรือเตาอบธรรมดาในบ้านได้เช่นกัน โดยเฉพาะถ้าได้รับประทานร้อนๆ คู่กับไก่แทนดอรี หรือไก่กะบั๊บแล้วละก็อร่อยน่าดู และก็ยังสามารถรับประทานได้กับแกงแขกทุกแบบ

กล่าวกันว่า พวกโมกุลได้นำนานเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ในช่วงที่ราชวงศ์โมกุลปกครองอินเดีย ซึ่งชาวโมกุลนั้นมาจากเปอร์เชีย ดังนั้นศัพท์คำว่า “นาน” (Naan) จึงมาจากภาษาเปอร์เชีย และปัจจุบันนานก็แทบจะเป็นหนึ่งในอาหารหลัก ที่รับประทานกันทุกภูมิภาคในอินเดีย

วัตถุดิบหลักในการทำนาน ได้แก่ แป้งสาลี โยเกิร์ต และยีสต์ และอาจผสมส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มเข้าไปตามต้องการได้ด้วย หรือ โรยหน้าด้วยเนยขูดฝอย หรือกระเทียมสับ หรือเนื้อสับที่เรียกว่า คีมา

วิธีการทำนานขั้นแรกต้องผสมแป้ง กับน้ำและยีสต์ก่อน นวดให้เข้ากันดี แล้วหมักทิ้งไว้ให้แป้งขึ้นฟูสักสองสามชั่วโมง ก่อนที่จะผสมส่วนผสมอื่นๆ ตามมาทีหลัง จากนั้นก็แผ่แป้งให้เป็นแผ่นแบนก่อนนำไปอบในเตาอบ จะเห็นได้ว่าวิธีการทำไม่ยากอะไร แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร

อย่างไรก็ตามนานก็ยังแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น นานเปล่าๆ (plain naan) นานใส่กระเทียม (garlic naan) นานคีมา ( keema naan) ที่ผสมเนื้อสัตว์เช่น แกะ สับลงไปด้วย และ เปชวารีนาน (peshwari naan) นานที่ผสมผลไม้แห้งลงไปด้วย เช่น ลูกเกด เกาลัด เป็นต้น



credit:
http://en.wikipedia.org/wiki/Naan
http://learningpune.com/?p=4265

Saturday, July 23, 2011

ข้าวปงกัล (Pongal Recipe)

Pongal Recipe

Pongal is the most important festival of South Indians. Pongal celebrations extend for four days. God is praised by man on these days with utmost devotion and sincerity. It is celebrated in south India to usher in the new year with immense gratitude, joy and amity. Pongal is a South Indian dish which is popularly cooked during this festival. There are two main varieties of pongal, namely sarkarai or sweet pongal and kara or spicy pongal. Kara pongal is called Ven pongal in Tamil Nadu and Huggi in Karnataka. The divine rice which is boiled with milk and jaggery in the festival is also called pongal.

PONGAL RECIPES

ข้าวปงกัล (Pongal)Ven Pongal

Ven pongal is an intrinsic part of South Indian culture, and popularly served as breakfast in South Indian homes. It is a creamy rice dish, which is made by cooking rice with ghee and roasted moong dal. The stirring is done in plenty of water and milk. The seasoning is done with black peppercorn, cumin and salt. The delicious mixture is cooked in a huge pot till the rice and dal become soft. Cashews are roasted and sprinkled on the finished dish before eating. The simplicity of this dish emanated a divine fragrance that fills South Indian homes at festival time.

Sarkkarai Pongal

Sarkarai Pongal is cooked in the Sunny courtyard and served from the pot directly.

Ingredients

Milk – 2 lts
Almonds – 10
Cashewnuts – 15
Kishmish or raisins – 30
Newly harvested rice – 1 and ½ cups
Grated jaggery – 1 and ½ cup
Nutroeg powder – ¼ tsp
Saffron powder – ¼ tsp
Cardamom powder – 1 tsp
Ghee – 2 tbsps

Preparation

Clean Kishmish and chopped cashew nuts and almonds. Pour milk in Pongapni (an earthen pot) and place on fire. Wash rice and dal and add to the milk when it comes to boil. Add ghee and jaggery when the rice and daal become soft. Cook on a medium fire for some time before adding almonds, cashew nuts, and the crushed and dissolved saffron, nutrieg and cardamom powders. Add Kishmish in the end and bring to one or two boils.

Tuesday, July 19, 2011

ธรรมเนียมปฏิบัติในครัวของชาวอินเดีย (Formality In the kitchen of the Indians)

ท่านคงได้ยินคำถามเมื่อไปอินเดียตั้งแต่อยู่บนเครื่องบินว่า Are you veg or non-veg?

ธรรมเนียมปฏิบัติในครัวของชาวอินเดีย
(Formality In the kitchen of the Indians)

อินเดียเป็นประเทศที่ประชาชนรับประทานอาหารเจมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในชนบทประมาณ 80 % ทานเจ ทั้งนี้ด้วยข้อปฏิบัติของศาสนาฮินดูที่ไม่ให้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อีกทั้งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานับพันๆ ปี แม้ว่าบางคนจะบอกว่าตนเป็นคนที่ทานเนื้อสัตว์ อย่างมากก็รับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์เดือนละครั้ง หรือปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้นขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของแต่ละคน

อย่างไรก็ตาม ในชนบท ครอบครัวที่มีบางคนทาน บางคนไม่ทานเนื้อสัตว์ เพื่อไม่ให้มีการปะปนกัน เขาจะปรุงอาหารเนื้อสัตว์ด้านนอกห้องครัว ใช้อิฐมาตั้งเป็นเตา แบ่งแยกอุปกรณ์ใช้ใส่เนื้อสัตว์ต่างหาก สำหรับในเมือง อาจใช้วิธีซื้ออาหารเนื้อสัตว์สำเร็จรูปจากร้าน และใส่ในภาชนะแยกต่างหาก ถ้าเป็นไปได้บางครอบครัวจะแยกห้องครัว แยกอุปกรณ์ และแยกเครื่องปรุงรสต่างหาก แต่ถ้าแยกครัวไม่ได้ จะแยกอุปกรณ์เครื่องใช้

ก่อนเข้าครัว แม่บ้านหรือแม่ครัวต้องอาบน้ำให้สะอาดก่อน อาหารมื้อแรก แม่ครัวต้องกำข้าวสารโปรยที่เตาไฟ (เตาถ่าน เตาฟืน หรือเตาแก๊ส) 1 รอบเพื่อบูชาเทพอัคนี ในวันที่ประกอบพิธีหรือวันที่อดอาหาร ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนทำอาหาร ให้พ่อบ้าน หรือผู้อื่นทำแทน ในอินเดียใต้ ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนเข้าห้องครัวทีเดียว ชาวอินเดียไม่ทานอาหารในห้องครัว ถือว่าเป็นบาป

เมื่อปรุงอาหารเสร็จ แม่ครัวจะแบ่งอาหารแต่ละชนิด อย่างละนิดเอาไปให้วัวกินก่อน หากอยู่ในเมืองก็เอาไปให้นก หากไม่มีสัตว์ก็ไม่ต้องทำ เมื่อสมาชิกมานั่งพร้อมเพรียงกัน หัวหน้าครอบครัวเอาอาหารอย่างละนิดๆ ใส่มือ วนหนึ่งรอบเหนือจานพร้อมสวดมนต์ เพื่อขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยให้มีอาหารรับประทาน เสร็จแล้วนำอาหารไปวางบนพื้นดินที่อยู่ด้านขวาของจาน น้ำดื่ม ก็ทำเช่นเดียวกันวนหนึ่งรอบแล้วเทไว้บนอาหารที่วางไว้ที่พื้นแล้ว

หลายๆ ครอบครัวที่ทานเจจะไม่ทานกระเทียมและหัวหอม ชาวอินเดียทานข้าวด้วยมือ

ถั่วเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ นมและขมิ้นรวมถึงผักสีเขียวหลายชนิดเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก ผลไม้แห้ง เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ (นำเข้า) มีธาตุเหล็กมากแต่ราคาแพงเกินไปสำหรับชาวอินเดียโดยทั่วไป และเมื่อสามปีที่ผ่านมาอาหารที่อินเดียมีราคาแพงมากขึ้น ทำให้คนจนขาดธาตุอาหารจำนวนไม่น้อยทีเดียว

ชาวอินเดียรับประทานอาหารสามมื้อ มื้อเช้าขึ้นอยู่กับแต่ละบ้าน อาหารเช้าไม่หนักมาก อาหารกลางวันรับประทานช่วง 13.00-14.00 น. อาหารเย็น ในเมือง 20.00-21.00 น. ส่วนในชนบทหลังจากที่นำวัวกลับจากการเลี้ยงในท้องทุ่ง หรือเสร็จจากการทำงานแล้วก็ให้วัวกินหญ้า เสร็จแล้วจึงทำอาหารทานเร็วกว่าคือ 18.00-19.00 น.

สรุป ข้อปฏิบัติต่างๆ ข้างต้นใครสามารถปฏิบัติได้ก็ทำไป ใครทำไม่ได้ก็ไม่ว่ากัน แต่การกระทำต่างๆ เป็นการปฏิบัติโดยนึกถึงผู้อื่น และขอบคุณพระเจ้าไปในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันเป็นการถ่ายทอดความเชื่อและการปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น คนไทยอาจไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมปฏิบัติที่เคร่งครัดเช่นนี้ เมื่อไปอยู่กับครอบครัวชาวอินเดีย ที่มีความเคร่งครัดอาจสับสนจนเกิดเป็น cultural shock ทำตัวไม่ถูกเลยทีเดียว แต่หากค่อยๆ เรียนรู้ก็ไม่ยากที่จะปรับตัวได้ในที่สุด


info credit: http://www.gotoknow.org/blog/indianstudies/180586
image credit: http://www.flickr.com/photos/evrensahin/126364343/sizes/z/in/photostream/

Friday, July 15, 2011

ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารของคนอินเดีย (Tradition of eating Indian food)

วัฒนธรรมการกินอยู่ของแต่ละประเทศ ต่างก็เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญของคนในประเทศนั้น ซึ่งมีความแตกต่างกันตามประเพณีและความเชื่อทางศาสนา คนอินเดียก็เช่นเดียวกัน ที่มีข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติที่พวกเราควรทราบกันไว้ถ้าได้มาอินเดีย โดยเฉพาะถ้าได้รับเชิญให้ไปรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อน ก็จะช่วยให้เราปฏิบัติตนได้ถูกต้องและเข้ากับวัฒนธรรมของเขาได้


ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารของคนอินเดีย
(Tradition of eating Indian food)


ในการรับประทานอาหารโดยทั่วไปคนอินเดียจะรับประทานด้วยมือ ไม่ใช้ช้อนส้อม แม้แต่อาหารประเภทน้ำ จำพวกแกงเผ็ด หรือซุบถั่วต่างๆ ก็เช่นกัน จะใช้แป้งขนมปัง เช่น นาน จาปาตี หรือโรตี ตักเข้าปากรับประทาน และการทานอาหารด้วยมือ ก็ถือว่าเป็นการรับประทานอาหารที่ได้รสชาติดีกว่าการใช้ช้อนส้อม

ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารของคนอินเดีย (Tradition of eating Indian food)ถ้าเป็นแบบอินเดียดั้งเดิมจริงๆ ที่ปฏิบัติมาแต่โบราณจะใช้ใบตองแทนจาน รับประทานเสร็จก็โยนทิ้งให้สลายตัวในธรรมชาติได้เลย ไม่ต้องมีภาระล้างถ้วยจานชามมากมาย อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารจึงแทบไม่มีความจำเป็น ดังนั้นบนโต๊ะอาหารจะไม่มีอุปกรณ์อื่นๆให้ นอกเหนือจากถาดอาหาร ยกเว้นตามร้านอาหารทั่วไปก็อาจให้ช้อนมาด้วยแต่ซ่อมนี่ไม่มีแน่

ในการรับประทานอาหารด้วยมือต้องใช้มือขวาเพียงข้างเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่ใช้เรื่องง่ายๆ เลย สำหรับคนที่ไม่เคยทานด้วยมือมาก่อน และคำว่ามือนี่ก็ไม่ได้หมายถึงทั้งมือ แต่หมายถึงแค่ปลายนิ้วเท่านั้นที่ใช้รวบอาหารแล้วกอบเข้าปาก การรับประทานแบบผู้ดีมีมารยาทของชาวอินเดียต้องไม่ให้มือเลอะเทอะ และจานอาหารต้องเกลี้ยงเกลาสะอาด มือข้างซ้ายนี่ห้ามใช้เลย เพราะถือว่าเป็นมือที่ใช้ชำระล้างในห้องน้ำ ไม่ควรเอามาใช้ในการรับประทานอาหาร แต่ในบางชุมชน ก็ยอมรับให้คนที่ถนัดซ้ายใช้มือซ้ายในการรับประทานอาหารได้

ดังนั้นก่อนรับประทานอาหารจึงต้องล้างมือให้สะอาด และการรับประทานอาหารที่เป็นทางการ ต้องให้เกียรติเจ้าภาพหรือผู้อาวุโส รับประทานก่อน และต้องไม่ลุกจากที่นั่งแม้จะรับประทานเสร็จแล้ว จนกว่าเจ้าภาพหรือผู้อาวุโสจะทานเสร็จ อาจขอตัวลุกออกไปล้างมือได้ แต่ต้องรีบกลับมานั่งประจำที่โดยทันที

ส่วนใหญ่แล้วคนอินเดียนิยมรับประทานกับพื้น จึงต้องนั่งขัดสมาธิ หลังตรงเสมอ แต่ถ้านั่งบนโต๊ะอาหารต้องไม่เท้าศอกบนโต๊ะ และอย่ายกถ้วยหรือจานอาหารขึ้น ให้ใช้มือกอบอาหารเข้าปากเท่านั้น

การตักอาหารใส่จานให้ตักเท่าที่จะทานได้หมด และการหยิบอาหารทานแต่ละครั้งควรหยิบคำเล็กๆ เพื่อไม่ได้หกเลอะเทอะ ทั้งปากและฝ่ามือ และควรทานให้ได้จังหวะสม่ำเสมอ ถ้าทานช้าไปอาจเป็นการแสดงความนัยว่าอาหารไม่อร่อยถูกปาก หรือทานเร็วไปก็เป็นการไม่สุภาพเช่นกัน

และเจ้าภาพจะมีความสุขมากที่เห็นแขกทานอาหารที่บ้านได้เยอะ แสดงว่าอาหารอร่อย ถ้าทานหมดเร็วเขาก็จะรีบตักให้ใหม่ทันที และตักทีละเยอะๆ ด้วย ถ้าทานไม่หมดเป็นอันไม่ให้เกียรติเจ้าภาพอีก ดังนั้นต้องรักษาจังหวะให้ดี และหาทางออกที่สุภาพที่จะปฏิเสธ โดยไม่ให้เขาเสียน้ำใจนึกว่าเราไม่ชอบอาหารของเขา

จริงๆ แล้วการรับประทานแบบคนอินเดียก็ไม่ได้ลำบากมากมาย เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยกับการใช้มือข้างเดียวหยิบอาหารเข้าปาก พวกเราถนัดใช้ทั้งสองมือช่วยฉีกจับอาหารมากกว่า และบางทีไปทานตามร้านอาหาร ถูกโต๊ะรอบข้างเขามองเอาว่า ทานกันอย่างไรให้เลอะเทอะทั้งสองมือ อันนี้พวกเราไม่ค่อยสนเท่าไหร่ เพราะเขาคงไม่รู้ว่าเรามาจากไหน แต่ถ้าไปทานตามบ้านเพื่อน ก็อย่าให้เขาว่าเอาได้ ว่าเราไม่มีมารยาท ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของเขา


credit: http://learningpune.com/?p=10812

Thursday, July 7, 2011

ดาล (Dal)

ดาล (Dal)

ดาล หรือภาษาอังกฤษเขียนว่า Dal คืออะไร คงอธิบายยากสักนิด เพราะจะว่าไปแล้ว มันคือแกงก็ไม่ใช่น้ำซุปก็ไม่เชิง เอาเป็นว่ามันคืออาหารที่ชาวอินเดียกินประจำทุกมื้อ ชนิดที่เรียกว่า “วันๆ กินข้าวกับดาล และกินดาลกับข้าว” อาจจะเรียกให้พอเข้าใจได้ว่า "ซอสถั่วเหลือง หรือ แกงถั่วเหลือง"

วิธีการกินคือ ราดไปกับข้าว หรือทานกับ “จาปาตี” บางแห่งจะเรียก “โรตี” เอาเป็นว่าโรตีแบบบ้านเรานั่นล่ะ คล้ายๆ ว่า ถ้าเป็นภาษา มาลาตี ก็จะเรียก จาปาตี ถ้าเป็นภาษาฮินดีเขาจะเรียกว่า โรตี

ดาลจะทำขึ้นจากการต้ม โดยใส่ใบยี่หร่า ผงขมิ้น ลูกผักชีคั่ว พริกขี้หนูแห้งลอยหน้า เกลือ ถั่ว Moong Dal ชนิดสีเหลือง (“มุง - Moong” ในภาษาฮินดี น่าจะแปลว่าถั่ว ) เครื่องแกง ผักเครื่องเทศ หอม และส่วนมาก จะนิยมใส่ มาสซาร่า เครื่องเทศยอดนิยม ที่ชาวอินเดียชอบมาก ใส่ในอาหารแทบทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่ง ขนม น้ำผลไม้ และกาแฟ

ทำออกมาหน้าตาก็จะคล้ายๆ ถั่วเขียวต้มบ้านเรา แต่เละจนเป็นน้ำ พร้อมทั้งมีสีเหลือง รสชาติจะออกเค็มๆ และเผ็ดนิดหน่อย

บางแห่งที่นักเรียนไทยต้องอยู่หอ ถึงกับร้องเพราะ ถ้าถามว่าวันนี้กินข้าวกับอะไร คือตอบที่ได้ คือ กินข้าวกับดาล และถ้าถามต่อไปว่าวันพรุ่งนี้ล่ะ คำตอบที่ได้ก็เป็นไปทำนองเดียวกันคือ กินดาลกับข้าว เป็นประโยคขำๆ บนใบหน้าเจื่อนๆ ของผู้พูด

ดาล อาจจะแปลกประหลาดสำหรับคนไทย แต่ดาลบางแห่งอร่อยมาก ชนิดตักแล้วตักอีก ก็มี ถ้าอยากรู้ว่าดาลเป็นอย่างไร ทดลองชิมได้เลยตามร้านอาหารอินเดียทั่วไปในเมืองไทย

สนใจทำดาล คลิ๊กเข้าไปชมได้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=lekatuayao&group=4&month=04-2009&date=19


credit: http://learningpune.com/?p=1707

Tuesday, July 5, 2011

ความรู้เกี่ยวกับอาหารอินเดีย สำหรับคนไทยที่ไปศึกษาที่ประเทศอินเดีย (Somthing about indian food)

อินเดีย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมอาหาร มีจุดเด่นเรื่องการใช้เครื่องเทศ ซึ่งมีประวัติมายาวนานกว่า 7,000 ปี เครื่องเทศเหล่านี้รู้จักกันดีในนาม มาซาล่า (Masala) เป็นเครื่องแกงชนิดแห้ง ใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด

หรือแม้กระทั้งนำมาโรยข้าวรับประทาน ข้าวของชาวอินเดียจะมีลักษณะเรียวยาวกว่าปกติเรียกว่า ข้าวบัสมาตี (Basmati) มีรสชาติดี แต่ราคาค่อนข้างสูง ตามร้านอาหารจึงเห็นข้าวเหมือนที่รับประทานกันในประเทศไทย ส่วนใหญ่ชาวอินเดียนิยมทานแผ่นแป้งสุกที่มีทั้งแบบปิ้ง แบบนาบกระทะ และแบบทอด จำพวก โรตี (Roti) จาปาตี (Chapati) พารัตทา (Paratha) นาน (Nan) และปาปัด (Papad) สำหรับปาปัดนั้นจะถูกปากคนไทยเป็นพิเศษ เพราะกรอบเหมือนข้าวเกรียบทานง่ายไม่ต้องมีเครื่องจิ้มทานกับชา กาแฟ ก็อร่อย

อาหารประเภทแผ่นแป้งเหล่านี้ จะรับประทานกับเครื่องจิ้มนานาชนิด ที่นิยมมากคือแกงถั่ว (Dal) มีให้เลือกมากมายหลายรสชาติ และเนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่นิยมทานมังสวิรัติ (vegetarian) อาหารจึงต้องมีโปรตีนจากถั่ว หรือนม อาหารที่ใช้เต้าหู้จากถั่วเหลืองมีน้อยมาก แต่จะมีเต้าหู้อีกชนิดหนึ่งทำจากนมวัว เรียกว่า ปะนีร์ (Paneer) มีสีขาว จัดอยู่ในอาหารประเภทชีส แต่กลิ่นไม่แรง นิยมใส่ในแกงถั่ว

อนึ่ง อาหารของชาวอินเดียมีข้อแตกต่างระหว่างพื้นที่ โดยชาวเหนือนิยมใช้ เนยใส (Ghee) ในการทำอาหาร สีสันที่แดงจัดจ้านมาจากมะเขือเทศมากกว่าพริก รสชาติของอาหารเหนือจึงไม่เผ็ดร้อนมากนัก แต่จะหอมเครื่องเทศ ชาวเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแคชเมียร์จะนิยมใช้ แซฟฟรอน (Saffron) ซึ่งเป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูงในการประกอบอาหาร ในขณะที่ชาวใต้นิยมใช้กะทิ และพริกในการปรุงอาหาร อาหารชาวใต้จึงค่อนข้างเผ็ด อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียนิยมทานเผ็ดกันอยู่แล้ว เห็นได้จากร้านพิซซ่าชื่อดังอย่าง พิซซ่าฮัทนำเสนอเมนูพิซซ่าหน้าพริกขี้หนูอินเดียล้วนๆ มาให้รับประทานกัน

นอกจากอาหารมังสวิรัติแล้ว อาหารประเภทเนื้อสัตว์ก็มีให้รับประทาน อย่างเนื้อไก่และเนื้อแพะ (Mutton) สามารถหารับประทานได้ง่ายเพราะไม่ผิดหลักศาสนาใดๆ ขณะที่เนื้อวัวอันเป็นข้อห้ามของชาวฮินดู แทบจะหาทานไม่ได้เลยนอกจากร้านอาหารฝรั่ง เช่น Twenty Feet High (Bangalore; Church Street) และโรงแรมชั้นดี ส่วนเนื้อหมูอันเป็นข้อห้ามของชาวมุสลิมพอหาทานได้บ้าง โดยเฉพาะตามร้านอาหารจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีอยู่ในตัวเมืองใหญ่ๆทั่วไป

สำหรับอาหารซีฟู๊ดหาทานได้ไม่ยากตามเมืองที่ติดทะเล เช่น โกอา (Goa), มุมไบ (Mumbai), ปูเน่ (Pune) และอูดูปิ (Udupi) เป็นต้น เมืองชั้นในอย่างบังกาลอร์ (Bangalore) พอหาซีฟู๊ดทานได้บ้าง แต่หากซื้อไปทำเองจะสะดวกกว่าเสาะหาร้านอาหารซีฟู๊ด เนื่องจากมีอยู่ไม่มากนัก ร้านอาหารทะเลที่อยากแนะนำ หากอยู่ในเขตบังกาลอร์คือ The Mangalore Perl (Frazer Town) ซึ่งมีรสชาติดี ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา สารพัด ที่เด่นที่สุดคือแกงฉลามมาซาล่า อาหารทะเลสดแช่แข็งมีขายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป เช่น Fab Mall, Food World, Spensor และ Nilgiris ซึ่งมีให้เลือกหลายระดับราคา รวมทั้งใน Spensor M.G.Road เองยังมีแผงปลาทะเลขนาดจัมโบ้ให้เลือกซื้อสดๆ แต่ราคามักจะสูง หากเป็นแผงลอยทั่วไปตามตลาด หรือรถเข็นมักจะเป็นปลาน้ำจืดมีเกล็ดมาก ส่วนเนื้อสัตว์อื่นๆ หาซื้อไม่ยาก ยกเว้นเนื้อวัว ต้องหาซื้อในชุมชนอิสลาม ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไป สำหรับเนื้อหมูจะมีขายตามเขียงหมูในตัวเมือง และตลาด ส่วนในห้างสรรพสินค้า สามารถหาซื้อไส้กรอกหมูง่ายกว่าเนื้อหมูสด

สำหรับคนไทยที่คาดว่าจะไปศึกษา ณ เมืองใหญ่ อาทิ บังกาลอร์ และยังติดการรับประทานของไทยๆ อาทิ น้ำพริก น้ำปลา น้ำมันหอย รวมถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็สามารถหาซื้อได้ใน Fab Mall สาขา Forum Mall และ Nilgiris เป็นต้น ราคาอาจสูงหน่อย เพราะต้องนำเข้า ส่วนพืชผักมีให้เลือกจุใจแถมปลอดสารพิษ และราคาถูก ที่น่าแปลกใจคือ คนที่นี่ไม่ทานใบกะเพรา แต่จะใช้สำหรับบูชาเทพเจ้า หาซื้อได้ตามแผงขายพวงมาลัย (Garland) ลักษณะใบค่อนข้างเล็ก ร้อยมาเป็นวง เรียก ตูรูซิ หรือ Holy Leaf สำหรับผู้ที่ไม่ติดความเป็นไทยมากนัก อยากแนะนำให้ลิ้มลองรสชาติของอินเดีย อาหารจานเด่นของที่นี่มีทั้ง ไก่ทันดูรี (Tandoori Chicken) เป็นไก่ที่หมักในเครื่องเทศแล้วนำไปอบในเตาดิน ข้าวหมก (Biryani) มีทั้งหมกแพะและไก่ ส่วนที่โด่งดังในหมู่ชาวไทยเห็นจะเป็นไก่กะบ๊าบ (Chick Kebab) ซึ่งก็คือไก่ทอดนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมี โดซ่า (Doza) เป็นแผ่นแป้งยัดไส้ต่างๆ แล้วนำไปทอด อีกเมนูคือ อิฎลี (Idli) หน้าตาคล้ายซาลาเปา แต่เนื้อเหมือนขนมตาล รสจืด หรือหวาน แล้วแต่ส่วนผสม ซึ่งทั้งสองเป็นอาหารใต้ที่โด่งดังไปทั่วอินเดีย หากยังไม่ถูกปากต้องลอง แกงเขียวหวานไก่ไร้มะเขือ หรือ Chicken Kadai ร้านอาหารอินเดียเกือบทุกร้านจะมีเมนูหมี่ผัดแบบจีนสไตล์ต่างๆ ที่นิยมคือสไตล์แมนจูเลียรสชาติออกเผ็ดๆ ส่วนร้านอาหารสากลอย่าง Pizza Hut, KFC, McDonald's, Subway, Coffee World, Barista, Baskin Robbin, Rail Road และอื่นๆ ก็มีให้เลือกรับประทาน มีข้อสังเกตเพิ่มเติมคือ ร้านอาหารที่นี่มักลงท้ายด้วยคำว่า Hotel จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโรงแรมที่นี่ไม่มีห้องพัก มีแต่อาหารขายอย่างเดียว

ในความเป็นจริงอาหารอินเดีย ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายๆคนคิด ปัญหาที่ทานอาหารอินเดียไม่ได้ส่วนใหญ่ เกิดจากการไม่คุ้นกลิ่นเครื่องเทศ แต่ใช่ว่าอาหารทุกอย่างของอินเดียจะใส่เครื่องเทศหนักๆ และสไตล์การทำของแต่ละร้านก็ไม่เหมือนกัน เพียงแต่นิสัยเด็กไทยที่ไปอยู่เมืองนอก หากเข้าร้านไหนก็มักเข้าร้านนั้นเป็นประจำ ไม่ค่อยเปลี่ยน หรือหาทางเลือกใหม่ๆ อีกประการที่สำคัญที่สุด คือ สั่งไม่เป็น จึงไม่กล้าสั่ง เมนูที่ทานจึงซ้ำๆ เมนูยอดฮิตสำหรับเด็กไทยเลย คือ Chicken Fried Rice และ Chicken Kebab ซึ่งน่าจะเป็นวัฒนธรรมการสั่งอาหารอินเดียของเด็กไทยไปแล้ว อยากให้ลองหันมาสั่งอย่างอื่นบ้างเช่น Lamb’s Leg Tandoori ใส่ปราปริก้าเยอะๆ, แป้งทอดสอดไส้ อย่าง Egg Paratha, Chicken Kadai กับ Paratha หรือพวกไก่ย่าง Chicken Tikka ทานกับ Nan อบเนยกระเทียมร้อนๆ สำหรับคุณผู้หญิงที่ห่วงใยสุขภาพ ไม่แนะนำให้ทานอาหารจำพวก Butter เช่น Butter Chicken ซึ่งเป็นไก่หมักเนยแล้วนำมาทำแกง ควรลองหันไปหาพวก Spinach Paneer หรือเต้าหู้ชีสในซอสผักโขม ทานคู่กับ Chapati หรือ Corn Chapati หากชอบทานข้าวมากกว่าแผ่นแป้งต่างๆ ลองชิม Jeera Rice หรือข้าวหุงยี่หร่า รับรองหอมถูกใจครับ ดีกว่าที่เราจะต้องไปแสวงหาร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี หรือฝรั่งทานเพราะราคาสูง สำหรับนักศึกษาคงทานกันไม่ได้ทุกมื้อ ยิ่งไปกว่านั้นคุณจะไม่รู้จักคำว่าปรับตัว และซึมซับ

คำว่า ลองเพื่อรู้ ช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้น (กับการทานอาหารอินเดีย) เช่นรู้ว่าอาหารที่ลงท้ายด้วยคำว่า ถาลี (Thali) หมายถึงอาหารที่ใส่เป็นถาดมา และมีเครื่องจิ้มหลายอย่าง ซึ่งไม่ถูกปากเพราะมีแต่ข้าว แป้ง และน้ำจิ้ม หรือแกงอัณฑะ (Anda Curry) ซึ่งก็คือแกงใส่ไข่ที่เป็นลูกๆ เพราะคำว่าอัณฑะในภาษาฮินดีหมายถึงอะไรที่เป็นรูปกลมๆ แต่สุดท้ายการได้เดินตลาดซื้อวัตถุดิบที่จำเป็นมาทำอาหารไทยเองดู น่าจะถูกปาก และประหยัดที่สุด ทั้งยังได้เรียนรู้ชาวอินเดีย และประสบการณ์การเป็นเด็กนักเรียนนอกจริงๆ

สุดท้ายสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องความสะอาด ขอเรียนว่า ปัจจุบันร้านอาหารของอินเดียส่วนใหญ่สะอาด และรสชาติดี แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ฉะนั้นผู้รับประทานเองต้องรู้จักคัดเลือกร้าน และรักษาอนามัยก่อนรับประทานอาหาร ด้านน้ำดื่มควรหาน้ำบรรจุขวด หากเป็นน้ำดื่มที่บริการฟรีตามร้านอาหารก็สามารถดื่มได้ เพราะแทบทุกร้านจะมีเครื่องกรองน้ำ บางแห่งต้มน้ำก่อนให้บริการลูกค้า ยกเว้นบางร้านที่อยู่นอกเขตตัวเมืองพึงควรระวัง สำหรับน้ำแข็งยังหาทานลำบากหากไม่ใช่ร้านอาหารใหญ่ๆ


ข้อมูลจาก: http://www.pieindiastudy.com/Pages/About_India_Food.html

Monday, July 4, 2011

“วาดะเปา” แฮมเบเกอร์แบบอินเดีย (Vada Pav or Vada Pao)

“วาดะเปา” แฮมเบเกอร์แบบอินเดีย (Vada Pav or Vada Pao)

อาหารเช้าของชาวอินเดีย ส่วนมากแล้วจะนิยมเป็นพวกขนมปังและของขบเคี้ยว และตามด้วยการดื่มนมวัวเป็นประจำทุกเช้า ชนิดที่ว่า “นม” คือเครื่องดื่มหลักๆ ของชาวอินเดียเขาล่ะ ไม่ว่าจะลูกเด็กเล็กแดง จนถึงวัยคุณป้าและคุณยาย ก็ยังนิยมดื่มนมเป็นประจำ จึงสังเกตได้ว่าชาวอินเดียเขาจะแข็งแรงกว่าคนไทยเยอะ แต่เสียอย่างเดียว ชาวอินเดียนิยมลงพุง แข่งกันชนิดที่ว่าเสมือนแข่งกันเพื่อชิงรางวัลกันทีเดียว

แต่วันนี้จะมาแนะนำอาหารเช้า ซึ่งไม่แน่ใจว่า ชาวอินเดียทำเลียนแบบฝรั่งมังค่าเขา หรือว่าเกิดจากการค้นคิดประดิษฐ์ประดอยของชาวอินเดียเขากันแน่

อาหารเช้าที่ว่านั้น รูปร่างคล้าย “แฮมเบอร์เกอร์” ของฝรั่งตาน้ำข้าวเขานั่นล่ะ แต่ต่างกันตรงที่ ไส้ของแฮมเบอร์เกอร์นั้น ทำมาจาก มันฝรั่งบด ผสมแป้ง ปั้นเป็นไส้ บวกด้วยเครื่องเทศ เช่น มัสซาลา และ เมล็ดมัสตาดรูปร่างกลมๆ ขนาดเท่าๆ ลูกอมโบตันบ้านเรานั่นล่ะ ยังไม่จบนะครับ เขายังใส่ ผักชี พริกสด ผสมลงไป และน้ำไปทอดในกระทะแบบทอดปาท่องโก๋

เจ้าอินเดียนแฮมเบอร์เกอร์ นั้น มีชื่อว่า “วาดะเปา” (ภาษาอังกฤษเขียนว่า Vada Pav หรือ Vada Pao) ความจริงแล้วมันแค่ดูคล้ายๆ มากกว่า โดยส่วนตัว คาดว่าชาวอินเดียคงรับวัฒนธรรมการบริโภคขนมปังมาจากชาวอังกฤษ และเอามาปนกับ อาหารพื้นเมือง แต่ไม่แน่ใจว่าอาหารอินเดียที่ทำจากมันฝรั่งซะส่วนมาก เขารับอิทธิพลมาจากอังกฤษด้วยเหมือนกันหรือไม่

ภายในถาดถ้วยหรือถ้วยถาดของเรานั่น จะปรากฏโฉมของน้องวาดะ นอนแนบมากับหนุ่มน้อยปังปอนด์ซึ่งออกไปแนวตี๋น้อยผู้ขาวท้วม พร้อมด้วยน้องพริกเขียวทอดฉาบเกลือนอนเรียงรายอยู่ข้างๆ บางร้านนิยมใส่พริกป่นทอดน้ำมันมาด้วยนะเออ (ผมสงสัยว่าทำไมต้องทอดอีกหว่า ปกติมันก็ไม่เผ็ดอยู่แล้ว ยังจะลดความเผ็ดมันลงอีก)

ขั้นตอนการรับประทานก็ง่ายแสนง่าย แค่จับเจ้าขนมปังก้อนเล็กๆ นั่นล่ะ ผ่าตรงกลางออก แล้วนำเอาไส้วาดะเปานั่นล่ะใส่ลงไป จินตนาการง่ายๆ ว่าทำเหมือนแฮมเบอร์นั่นล่ะ และแล้วก็บรรจงกัดลงไป พร้อมทั้งบริโภคพริกทอดเป็นเครื่องเคียง เป็นอันว่า อิ่มพอใช้ได้ ในราคา 10 รูปี

เรื่องรสชาติถือว่าใช้ได้ และมาตรฐานคล้ายๆ กันทุกร้าน ส่วนรสชาติอย่างไร คงต้องลองมาชิมเองดีกว่า


credit: http://learningpune.com/?p=5681

Saturday, July 2, 2011

วาดะ อาหารพื้นเมืองอินเดียใต้ (Vada / wada / vade / vadai)

วาดะ (Vada / wada / vade / vadai)

Vada also known as wada or vade or vadai is a savoury fritter-type snack from South India.

Vada is a traditional South Indian food known from antiquity. Although they are commonly prepared at home, vadas are as well a typical street food in the Indian Subcontinent and Sri Lanka. They are usually a morning food, but in street stalls and in railway stations, as well as inside the Indian Railways, they are available as a snack all through the day.

Vada can vary in shape and size, but are usually either doughnut- or disc-shaped and are about between 5 and 8 cm across. They are made from dal, lentil, gram flour or potato.

วาดะ ในภาษาอังกฤษเขียนได้หลายอย่าง ได้แก่ Vada หรือ Wada หรือ Vade หรือ Vadai เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียทางตอนใต้ ที่ชาวอินเดียรู้จักคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วาดะส่วนใหญ่จะทำกินกันภายในบ้าน ปัจจุบัน วาดะ นิยมรับประทานกันโดยทั่วไป มีขายตามร้านแผงลอยริมถนนของอินเดียและศรีลังกา และชาวอินเดียนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า แต่ก็สามารถรับประทานเป็นอาหารว่างในระหว่างวันได้เช่นกัน โดยเฉพาะชาวอินเดียที่อยู่ตามสถานีรถไฟ

วาดะ ทำมาจาก ดาล (Dal) , ถั่วเมล็ดแบน (Lentil), แป้งที่ทำจากถั่วชิกพีบด (gram flour) หรือ มันฝรัง
วาดะ มีรูปร่าง ลักษณะ รวมถึงขนาด ที่แตกต่างกันไปแล้วแต่คนทำ แต่ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับ โดนัท หรือ รูปร่างทางสีเหลี่ยม ขนาดประมาณ 5-8 เซ็นติเมตร

วาดะ ตัวแป้งจะคล้ายกับแป้งที่ใช้ทำ อิดลี่ เพียงแต่เขาเอามันมาทอดเท่านั้นเอง วาดะ ถือว่าเป็นพี่น้องกับอิดลี่เลยทีเดียว เพราะชาวอินเดียเขามักจะสั่งมากินร่วมกันเสมอ

How to make Medu Vada - South Indian recipe

Thursday, June 30, 2011

อิดลี (idli) อาหารเช้าขึ้นชื่อของ อินเดียใต้

อิดลี (idli) อาหารเช้าขึ้นชื่อของอินเดียใต้

อิดลี (idli) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของทางภาคใต้ของอินเดีย แต่ปัจจุบันก็มีขายและรับประทานกันโดยทั่วไป เป็นอาหารที่ทำง่ายๆ อร่อย และมีสารอาหารบำรุงสุขภาพ หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงขนมถ้วยฟูบ้านเรา แต่จะทำเป็นก้อนกลมแบนเหมือนขนมถ้วย ไม่มีรสหวานออกไปทางเปรี้ยวนิดๆ ราดด้วยน้ำปรุงรสแบบต่างๆ และทานเป็นอาหารเช้าหรืออาหารว่างยอดฮิตของอินเดีย

อิดลี ทำมาจาก ข้าว และ ถั่ว Urad Daal (ถั่วเขียวผิวดำ) นำมาโม่เป็นแป้ง การทำอิดลีนั้นไม่ยาก แต่ใช้เวลาในการเตรียมนานพอสมควร เพราะต้องใช้เวลาสำหรับการหมักแป้ง ส่วนผสมที่เป็นแป้งของอิดลีต้องหมักไว้ค้างคืน ก่อนนำไปนึ่ง จึงต้องมีการเตรียมการ ไว้แต่เนิ่นๆ ในการทำ (วิธีการทำดูได้จากวีดิโอด้านล่างนี้) เวลาทานมักเสิร์ฟคู่กับน้ำราดแบบต่างๆ ได้แก่ Sambhar และ Nariyal cyutney (ทำมาจากมะพร้าว) และต้องทานขณะร้อนๆ ถึงจะอร่อย

อิดลี (idli) อาหารเช้าขึ้นชื่อของ อินเดียใต้เนื่องจากอิดลีทำจากข้าวและถั่ว มีน้ำมันน้อย ไม่เผ็ด ผ่านการหมักมาแล้วทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ง่าย จึงเป็นอาหารของทางใต้ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป และหาซื้อได้ง่ายในอินเดีย รวมทั้งนำมาขายถึงที่หน้าประตูบ้าน ตามหอพักต่างๆ ในตอนเช้าจะมีพ่อค้าอิดลีแบกหม้ออิดลีมาขายถึงที่เลย และมักขายคู่กับ วาดะ (Vada) ลักษณะคล้ายโดนัท แต่มีรสเค็มไม่หวาน ทานคู่กับอิดลีก็อร่อยดี ต้องลองชิมดู อาจรู้สึกแปลกๆ กับรสชาติในตอนแรก แต่ทานไปทานมารับรองจะติดใจ

Idli is one of the most popular south Indian recipes all over the country. Extremely scrumptious, light and nutritious, Idli is an ideal breakfast item. Made of rice and Urad Daal, making Idli is not difficult at all, however its preparation takes a little time as the batter for Idli requires fermentation. As it is a steamed food with minimum oil and no spices, it is an ideal food item for every body. It is one of the most regularly made items in any Malayalee home. Idli is served hot along with sambhar and Nariyal chutney (Coconut chutney). Read on to know how to make idli, if you want to try this wonderful south Indian delicacy.

Idli Recipe

Ingredients
  • 2cup Rice
  • 1 cup Urad Daal (white)
  • 11/2 tbsp Salt
  • A pinch of Baking Soda
  • Oil (for greasing the pans)
Method

1. Pick, wash and soak the daal overnight or for 8 hours.

2. Pick, wash and drain the rice. Grind it coarsely in a blender.

3. Grind the daal into a smooth and forthy paste.

4. Now mix the grinded rice and daal together into a batter.

5. Mix salt and set aside in a warm place for 8-9 hours or overnight for fermenting.

6. Idlis are ready to be cooked when the batter is well fermented.

7. Grease the idle holder or pan well and fill each of thm with 3/4th full of batter.

8. Steam cook idlis on medium flame for about 10 minutes or until done.

9. Use a butter knife to remove the idlis.

10. Serve them with sambhar or chutney.




credit:
http://learningpune.com/?p=3962
http://festivals.iloveindia.com/onam/idli.html

Tuesday, June 28, 2011

ชีสอินเดียหรือปะนีร์ (Indian paneer or panir)

Life in Jeju 70 - มาทำชีสอินเดีย Paneer แบบง่ายๆที่บ้านกัน
15 เม.ย. 2011 ... เ ป็นชีสแบบอินเดีย นิยมใส่ใน Indian Curry เช่น Paneer Butter Masala เมนูนี้นิยมมากในร้านอาหารอินเดีย ประกอบกับ ช่วงที่กลับไทย ไมค์ไปซื้อพวกผง Curry ..... Life in Jeju 75 - วันเด็กที่เกาหลี สไตร์เด็กโข่ง ^^ ...
http://gapdiary.diaryclub.com/20110412/Life-in-Jeju-70-มาทำชีสอินเดีย-Paneer-แบบง่ายๆที่บ้านกัน

Paneer โฮมเมด – ชีสอินเดีย
Paneer โฮมเมด – ชีสอินเดีย. มิถุนายน 24, 2010 | admin | 25 ความคิดเห็น » ... ความคิดเห็น (0). ไม่มีความคิดเห็นสำหรับบทความนี้. ...
http://tastefood.info/th/homemade-paneer-indian-cheese/

Paneer (Hindi: पनीर panīr, from Persian پنير panir) is a fresh cheese common in South Asian cuisine. It is of Indian origin. In eastern parts of India, it is generally called Chhena. It is an unaged, acid-set, non-melting farmer cheese or curd cheese made by curdling heated milk with lemon juice or other food acid.
Unlike most cheeses in the world, the making of paneer does not involve rennet as the coagulation agent, thus making it completely lacto-vegetarian and providing one of the sources of protein for vegetarians in India. It is generally unsalted.

ชีสอินเดียหรือปะนีร์ (Paneer / Panir)

A special favorite with North Indians, paneer (cottage cheese) with its delicate milky flavour is used all over India to make delicious dishes ranging from curries to desserts. Available at most supermarkets in block form or even as curds, it readily takes on the flavor of the spices in which it is cooked. When used to make desserts it gives a rich and creamy flavour. Paneer can be bought at the supermarket or better still, made at home quite easily.

รสชาติของปะนีร์ ก็คล้ายกับเต้าหู้แต่จะมีกลิ่นนม เคี้ยวมันและมีเนื้อแน่น ใช้ประกอบในแกงหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น Aloo Paneer (อาลู ปะนีร) คือแกงมันฝรั่งกับปะนีร, Matter Paneer (มัตเตอร์ ปะนีร) คือแกงเมล็ดถั่วลันเตากับปะนีร, Palak Paneer (ปะลัก ปะนีร) แกงผักโขมกับปะนีร หรือแม้แต่ Saag Paneer (ซ้าก ปะนีร) แกงผักโขมปั่นรวมกับผักอย่างอื่นใส่ปะนีร

ส่วนผสม:
- นมสด จะเป็นนมสดๆ หรือเป็นนมกล่อง UHT ก็ได้ ปริมาณ 1 ลิตร และ

- โยเกิร์ต หรือ
บัตเตอร์มิลค์ 200 มิลลิลิตร หรือ
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ หรือ
น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ

เลือกเอาตามสะดวกว่าจะใช้อะไรใน 3-4 อย่างนี้ เพื่อทำให้นมจับตัวกัน

ส่วนวิธีทำก็ง่ายมาก เริ่มจาก

1. ขั้นแรก นำนมใส่หม้อ ทำการต้ม ใช้ไฟแรงได้ค่ะ ระหว่างต้ม คอยคนด้วยนะ


2. ต้มจนเดือด เป็นฟองฟูฟ่องขึ้นมาถึงปากหม้อ

3. เบาไฟลง แล้วเติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ (หรือโยเกิร์ต หรือน้ำมะนาว ตามสูตรข้างบน)

4. ตอนนี้นมจะเริ่มจับตัวเป็นก้อน เมื่อเห็นว่าน้ำแยกออกจากนมหมดแล้วก็สามารถปิดไฟได้ แต่ถ้าหากดูท่าทางมันไม่ยอมจับตัวแยกออกจากน้ำโดยง่าย ให้เติมน้ำส้มสายชู หรือโยเกิร์ต หรือ น้ำมะนาว เหมือนที่เติมไปก่อนหน้านี้ เพิ่มได้ ดูจนแน่ใจว่านมจับตัวกันหมดแล้วจริง ๆ จึงปิดไฟ


5. เตรียมตะกร้าใบเล็ก ๆ ไว้ 1 ใบ ใช้ผ้าขาวบางสะอาด ทบ 2 ชั้นปูรองไว้ แล้วเทนมที่ต้มจับตัวกันแล้ว ลงไปในตะกร้าที่มีผ้าขาวบางรอง ปล่อยน้ำให้ไหลออกไปให้หมด


6. แล้วจับปลายผ้าขาวบางตลบมาคลุมตรงกลางตะกร้าไว้ จากนั้นให้หาของหนัก ๆ อย่าง สากหิน หรือ ก้นครก ทับไว้

7. ทิ้งไว้ซักครึ่งชั่วโมง หรือพอน้ำแห้งหมด ก็นำมาประกอบอาหารได้เลย หรือจะเก็บใส่กล่องให้มิดชิดแช่ตู้เย็นไว้ 2-3 วันก็ยังน่ากินอยู่เหมือนเดิม

recipe/images credit: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nuumali&group=2

......................................................................................................................................................


Saturday, June 25, 2011

ราสมาลัย (Rasmalai)

0532 ราสมาลัย | ThaiGoodView.com Knowledge for Thai Student
30 ส.ค. 2008 ... Rasmalai with Pistachio Caramel. ทำจากแป้งนุ่มหอมสูตรพิเศษที่ทำจากชีสและนม On Top ด้วยแผ่นเงินที่สามารถทานได้ ราดราสมาลัยซอส ...
http://www.thaigoodview.com/node/11171

สูตร Rasmalai | สูตรอาหารอร่อย
Ras Malai. Ras เสิร์ฟมาลัย 10 ส่วนผสมยอดเงินส่วนที่ส่วนผสม 1 1 ถ้วยนมผง 1 ไข่ 1 ... โพสต์ล่าสุด. AGGPLANT ผัดเพส SPICE ¼ ถ้วย (125 มล.) น้ำมัน 1 lb (500 ก. ...
http://tastefood.info/th/tag/rasmalai-receptet/



ราสมาลัย (Rasmalai)

Ras Malai is dumplings made from cottage or riccotta cheese soaked in sweetened, thickened milk delicately flavored with cardamom. Serve it chilled and garnished with slivers of dried fruit.

ราสมาลัย (Rasmalai) เป็นขนมหวานในแถบอินเดียทางตอนเหนือ มีลักษณะเป็นก้อนชีสแช่ในนม ทำจากแป้งนุ่มหอมสูตรพิเศษที่ทำจากชีสและนม อาจจะโรยหน้าด้วยแผ่นเงินที่สามารถทานได้ ราดราสมาลัยซอส เพิ่มความมันด้วย ถั่วพิตาชิโอ อัลมอน คาราเมล ก็เพิ่มความอร่อยได้ไม่น้อย

ราสมาลัย (Rasmalai) มีลักษณะจะคล้ายๆบัวลอยของไทยเรา ลอยอยู่ในน้ำนม ถ้าแช่ในตู้เย็นแล้วเอาออกมาทานจะหอมมากๆ ผู้คนชาวอินเดียวนิยมถวายพระกฤษณะเสียเป็นส่วนใหญ่

ข้อแนะนำอีกนิดนึงสำหรับขนมอินเดียชนิดนี้คือ ถ้าจะซื้อขนมอินเดียแบบชนิดที่เป็นน้ำ เมื่อซื้อมาแล้วควรจะรีบเก็บเข้าตู้เย็นทันที อย่าปล่อยไว้ในที่อุณหภูมิสูงนานๆ เนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อน ถ้าไม่รีบนำขนมเข้าตู้เย็น ขนมจะเสียได้ง่ายมาก

สูตรทำ ราสมาลัย (Rasmalai recipe)

Ingredients:
  • Paneer made from 1 liter of milk
  • 1 liter full cream/ whole milk
  • 1/2 cup sugar
  • 1 tablespoon cardamom powder
  • 4 cups water
  • 1 cup sugar
  • 1/2 cup thinly sliced almonds or pistachios

Preparation:

1. Mix the water and 1 cup of sugar in a pan and boil till all the sugar is dissolved. Turn off the fire and keep syrup aside.

2. Knead the Paneer (How to make Paneer) in a platter till very smooth. Make into balls slightly smaller than the size of a walnut and flatten slightly in the center.

3. When the Paneer balls are made, reheat the syrup to boiling, then simmer and gently drop in the Paneer balls. Cook for 10 minutes. Turn off fire.

4. In another pan boil the 1 litre of full cream milk with the 1/2 cup of sugar, till reduced/thickened to 75 per cent of its original volume. Turn off the fire, add the cardamom powder and mix well.

5. Add the syrup soaked Paneer balls (after draining) to the milk mixture and chill for a few hours.

5. Before serving, garnish with slivers of dried fruit.



credit:
http://www.hindumeeting.com
http://indianfood.about.com/od/sweetsanddesserts/r/rasmalai.htm

Tuesday, June 21, 2011

"พาหุรัด - Phahurat" Bangkok's Little India

"พาหุรัด" Center Point ของชาวอินเดีย

("Phahurat" Bangkok's Little India, Thailand)

ถ้าจุดนัดพบของเด็กวัยรุ่นไทย หรือผู้ใหญ่หัวใจวัยรุ่น คือพื้นที่แห่งสยามสแควร์ฯ ใจกลางกรุงเทพฯ แล้วทำไมชาวอินเดีย ที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จะมีเซ็นเตอร์พอยต์กับเขาบ้างไม่ได้ ซึ่งสถานที่พบปะสังสรรค์ของชาวภารตะที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ ก็คือพื้นที่บริเวณสองข้างทางบนถนนพาหุรัดนั่นเอง และถ้าเราสามารถตั้งนาฬิกาให้ย้อนเวลากลับไปในอดีตได้ ก็คงจะเห็นภาพพ่อค้าชาวอินเดีย ที่เดินทางเข้ามาจับจองพื้นที่บนถนนพาหุรัดเพื่อเริ่มกิจการขายผ้า

ยิ่งนานวัน กิจการขายผ้าก็เริ่มรุดหน้า เจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพ่อค้าผ้าชาวจีนจากดินแดนสำเพ็งมีความคิดที่จะขยายอาณาเขต เริ่มสร้างตึกต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในเขตพาหุรัด พ่อค้าชาวอินเดียจึงทยอยย้ายครอบครัวหนีออกไปตั้งรกรากที่อื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวัฒนธรรม ศาสนา อาหารการกิน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบอินเดียแท้ๆ จะสูญหายหรือเคลื่อนย้ายตามออกไปด้วย เพราะในพาหุรัดยังมีสถานที่รวมใจ และโยงใยสายสัมพันธ์ของความเป็นอินเดียให้คงอยู่ ซึ่งสถานที่นั้นก็คือ ศาสนสถานสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา หรือศูนย์รวมชาวไทยซิกข์แห่งประเทศไทย ที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา โดยวัดซิกข์ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของชุมชนชาวซิกข์ที่อพยพมาจากประเทศอินเดีย ว่ากันว่าชาวซิกข์คนแรกที่เดินทางมายังสยามประเทศ เป็นพ่อค้าขายของนามว่ากิรปาราม มาดาน ประมาณปี พ.ศ. 2428 ได้เดินทางเข้ามาในเมืองไทยเพื่อจำหน่ายม้าพันธุ์ดี และได้พักอาศัยอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยความสงบสุขและอบอุ่นใจ

ภายหลังมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ จึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายอาชาฝีเท้าดีแด่พระองค์ด้วย ด้วยสำนึกในพระมหา
กรุณาธิคุณ จากนั้นจึงเดินทางกลับรัฐปัญจาปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และชักชวนเพื่อนพ้องให้กลับมายังสยามนครกับท่านอีกครั้ง เพื่อตั้งรกราก ไม่ช้าไม่นานผู้คนชาวซิกข์ก็ทยอยเดินทางตามคำชักชวนเข้ามาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ส่วนเอกลักษณ์เด่นๆ ที่ทำให้รู้ว่าบุคคลผู้นี้คือ ชาวซิกข์ก็คือผ้าโพกศีรษะของสุภาพบุรุษนั่นเอง

มูลเหตุที่ชาวซิกข์ต้องใส่ผ้าโพกศีรษะก็เพราะ ชาวซิกข์จะไม่มีวันตัดหรือโกนผมโดยเด็ดขาดตามหลักการของศาสนา เพราะฉะนั้นจึงต้องขมวดผมใส่ไว้ใต้ผ้าโพก ส่วนสุภาพสตรีก็ยึดถือหลักเดียวกัน โดยทั้งสองเพศจะต้องบำรุงรักษาเส้นผมให้สะอาดสมบูรณ์อยู่เสมอ สิ่งบำรุงผมและหนวดเครา จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหาซื้อมาเก็บไว้ใช้ เช่น สมุนไพรเฮนนา

หลายคนอาจนึกแย้งในใจว่าเฮนนาใช้สำหรับเพนต์ร่างกายต่างหาก แต่เจ้าของร้านชำสไตล์อินเดีย ได้กล่าวยืนยันแล้วว่าเฮนนานี่แหละที่ช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสาวแขกตาคมก็คือ สมุนไพรที่ใช้เขียนขอบตา ซึ่งจะบรรจุเป็นแท่งเนื้อครีมสีดำสนิท เวลาเขียนมือต้องนิ่งๆ แต่ถ้าอยากจับง่ายเขียนสะดวกต้องเลือกแบบเป็นดินสอ ซึ่งมีลักษณะเป็นสมุนไพรเนื้อครีมสีดำเช่นกัน ส่วนประโยชน์ของสมุนไพรชนิดนี้คือช่วยบำรุงขนตาให้ยาวและดำขลับ เรียกว่าได้ทั้งขนตาที่ยาวเป็นแพและดูเซ็กซี่แบบ Smokey Eye ไปในคราวเดียวกัน

ส่วนหนุ่มๆ ที่เผลอจ้องเข้าไปในตาของสาวแขก แล้วเกิดหลงทางอยู่ในนั้นต้องฟังคำเตือนกันสักนิด คือก่อนที่จะชวนสาวเจ้าไปเที่ยวเล่น กรุณาดูแต้มสีแดงตรงหน้าผากก่อน ถ้าสาวคนไหนมีปื้นแดงบริเวณหน้าผากใกล้ๆ กับไรผมยาวเลยขึ้นไปในเส้นผมประมาณ 1-2 นิ้ว นั่นก็แปลว่าผู้หญิงคนนั้นมีคู่แล้ว ส่วนเจ้าติกะ (Tika) ติลก (Tilak) หรือบินดี้ (Bindi) ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดกลมๆ กลางหน้าผาก นั้นเป็นจุดคนละประเภทกับแถบสีแดงบนใบหน้าของหญิงที่แต่งงานแล้ว

โดยทั่วไปติกะจะเป็นสีแดงและแต้มได้ทั้งหญิงและชาย สีแดงที่ใช้มีความหมายเช่นเดียวกับเลือด คือสื่อถึงขุมพลังและจุดกำเนิดของชีวิต ตำแหน่งกลางหน้าผากหรือตาที่ 3 คือแหล่งกำเนิดปัญญา ถือเป็นขุมแห่งสมาธิญาณหยั่งรู้และความรู้ เปรียบเสมือนกำลังหรือปัญญาขององค์พระศิวะ ติกะมีความหมายกึ่งศาสนา ส่วนใหญ่ใช้ในงานมงคล เช่น ชาวอินเดียจะต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมืองด้วยพวงมาลัยและติกะ, พ่อส่งมอบเจ้าสาว, พระทำพิธีทางศาสนา, การอวยพรจากเพื่อน ล้วนใช้เครื่องหมายติกะทั้งสิ้น

พูดถึงเครื่องสำอางแล้ว ก็ต้องพูดถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวอินเดียด้วย ไม่ต้องเสียเวลาคิดนานก็รู้ว่าต้องเป็นส่าหรีแน่ๆ แล้วก็ไม่ต้องใช้เวลาหานานด้วย เพราะเดินไปทางไหนก็จะพบกับร้านขายชุดส่าหรีของสตรี และโธตีของบุรุษเต็มถนนพาหุรัดไปหมด แต่โธตีอาจไม่เด่นเท่าส่าหรีเพราะได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของคนยุโรป เช่น เสื้อเชิ้ต เนกไท ส่วนวิธีใส่ส่าหรีของสตรีอินเดียนั้นก็มีหลายแบบ แต่ใจความหลักคือการใช้ผ้าพลิ้วๆ เนื้อบางเบาผืนเดียวมาพันกาย บางครั้งอาจใช้ผ้าไหมร่วมด้วย

วิธีการพันก็จะแตกต่างกันออกไปตามภูมิภาคของประเทศอินเดีย สตรีทางตอนใต้จะพันส่าหรีลอดขา ส่วนสตรีในกูรก์ (Coorg) จะนุ่งส่าหรีให้ดูเหมือนใส่กระโปรง แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการใช้ผ้าส่าหรียาว 6 เมตรมาพันเป็นจีบรอบลำตัวและพาดไหล่ ที่เรียกกันว่า Nivi Style ซึ่งนับเป็นวิธีพันที่ใครๆ ก็ทำและพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด ลองสอบถามราคาได้ความมาว่าถ้าจะซื้อส่าหรีแบบเต็มยศ ต้องพกเงินติดตัวไปประมาณพันกว่าบาท

เปลี่ยนจากเรื่องสวยๆ งามๆ มาเป็นเรื่องอาหารการกินบ้างดีกว่า ลองสังเกตดูร้านชำ หรือแผงลอยก็จะเห็นบรรดาเครื่องเทศบรรจุใส่ถุงวางขายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นอบเชย ลูกกระวาน โซฟ และอื่นๆ อีกมากมาย เครื่องเทศ 11 ชนิดอย่างมาซาลา (Masala) ก็มีขาย ถั่วก็เป็นอาหารอีกชนิดที่เห็นวางขายทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็นถั่วเลนทิล ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลืองก็มีหมด และที่เห็นว่าพ่อค้าแม่ค้าให้ความสำคัญกับถั่วมากเป็นพิเศษ ก็เพราะกลุ่มชนส่วนใหญ่ที่นี่เป็นชาวซิกข์ซึ่งครองตนเป็นมังสวิรัติ ก็เลยกินถั่วเป็นอาหารหลักทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั่นเอง

แต่ก็ใช่ว่าจะเห็นแต่แขกซิกข์โพกผ้าเท่านั้นที่พาหุรัด เพราะที่นี่ยังเป็นจุดศูนย์รวมของชาวฮินดูด้วย เวลาเดินไปก็จะได้ยินทั้งภาษาปัญจาบี และภาษาฮินดีผสมกันไป ซึ่งชาวซิกข์ส่วนใหญ่ที่พาหุรัดค่อนข้างมีอายุแล้ว แต่ถ้าเป็นแขกฮินดูจะวัยรุ่นกว่าและมักมาเป็นกลุ่มๆ พร้อมกับส่งเสียงเฮฮากันในกลุ่มเพื่อนไปตลอดทาง
ย้อนกลับมาที่เรื่องอาหารกันต่อ เนื่องจากชาวซิกข์ไม่กินเนื้อสัตว์ ร้านอาหารแถบนั้นจึงขายแต่ผักตามไปด้วย แต่ก็มีร้านที่ขายอาหารจานเนื้ออยู่บ้าง คงเพราะจะกันบาบูชาวฮินดูเซ็ง

ขนมหวานแบบอินเดียนั้นชาวซิกข์กินได้ ชาวฮินดูก็กินได้ ส่วนชาวไทยต้องลองชิม เช่น ขนมลัดดูหรือโมทกะ ซึ่งเป็นขนมที่ใช้บูชาพระพิฆเณศ ทำจากแป้งถั่วปั้นกลม ซึ่งก็คือแป้งจะนา ทอดในน้ำมันเนย จากนั้นใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมแล้วทอดต่อจนสุก หรือลัดดูแบบนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าก็มี ซึ่งจะใช้มะพร้าวคลุกน้ำตาลปี๊บกับหญ้าฝรั่นเป็นไส้ ลองสังเกตดูดีๆ จะพบว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวเท่านั้นที่ถือขนม แสดงว่าทรงโปรดลัดดูหรือที่ชาวแขกออกเสียงว่า “หล่าดู๊” เอามากๆ

กุหลาบจามุน (Kulab Jamun) ก็เป็นขนมอีกอย่างที่ไม่ควรพลาด ขนมนี้ทำจากแป้งผสมนม ปั้นกลมๆ ทอดในเนยกี (Ghee) จากนั้นทำน้ำเชื่อมโดยใส่ลูกกระวานและน้ำดอกไม้เทศ พอน้ำเชื่อมอุ่นก็เทใส่กุหลาบจามุนที่ทอดไว้แล้ว เวลากินแนะนำว่าต้องกินคู่กับน้ำชา เพราะขนมชนิดนี้มีรสชาติหวานมาก ต้องค่อยๆ ลองชิมลองกินทีละน้อยๆ ขนมที่สามารถซดน้ำได้แบบอินเดียก็มี เช่น ราสมาลัย (Rasmalai) มีลักษณะเป็นก้อนชีสแช่ในนม ชีสอินเดียหรือปะนีร์ (Panir) จะมีเนื้อแน่นคล้ายกับเต้าหู้ ส่วนนมปรุงรสทำจากนม หรือครีมต้มกับน้ำตาล และผงกระวาน ขนมราสมาลัยนี้ก็ต้องค่อยๆ กินเช่นกัน เพราะถ้ากินมากอาจออกอาการอวบโดยไม่รู้ตัวได้

คราวหน้าถ้าจะนัดสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน คงจะเปลี่ยนบรรยากาศจากสยามฯ มาเป็นพาหุรัดเพื่อหากิจกรรมใหม่ๆ ทำอย่างแน่นอน เพราะจะได้ตัดปัญหาเวลาที่เพื่อนโอดครวญว่าเบื่อร้องคาราโอเกะ ขี้เกียจดูหนัง ไม่มีสตางค์ชอปปิง หรือทำไมต้องนั่งกินข้าวแต่ร้านเดิมๆ ด้วย...อย่างนี้ต้องเจอกันที่เซ็นเตอร์พอยต์พาหุรัด!


info/images credit: http://www.gourmetthai.com
images credit:
http://www.panoramio.com/photo/46153807
http://www.2how.com/board/48281.html
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...