Chai is made up of rich black tea, heavy milk, several spices, and a sweetener such as sugar. Depending on your particular taste or even upon the geographic region in which you live, you may use different spices in your Chai than someone else.
The tea base for Chai is typically something strong, such as Assam tea. Strong tea is almost always used so that spices and sweeteners do not overpower its tastes. However, this is not always the case.
For example, Kashmiri Chai is made with Gunpowder green tea, and sometime even Rooibos tea or Yerba Mate are used to make Chai. Of course, these ways of making Chai are Westernized, and not done in India.
As stated above, the sweetener in Chai is usually sugar. However, molasses and honey are sometimes used as well.
The most common spices that are used include cardamom, cinnamon, ginger, star anise, cloves, peppercorn, nutmeg, chocolate, cocoa, vanilla, licorice, and pepper. The Kashmiri Chai is often brewed using almonds, cinnamon, black pepper, cardamom, and saffron.
Where did Chai come from?
Chai is a common drink in India, and many Indians cannot believe how popular it has become across the world. In India, Chai is much more popular and preferred than coffee. Many forms of Chai are popular across India, and the recipes for Chai are abounding. The more creative the recipe is, the better!
How is Chai prepared?
Chai is prepared by boiling tea leaves, spices, sugar, and milk/creamer together. This produces a strong flavor and brilliant color. After it simmers for a few minutes, the mixture is then strained and served.
......................................................................................................................................................
“ไจ” (Chai) ชานมรสเข้มข้นของอินเดีย
วัฒนธรรมการดื่มชา เรียกว่าแทบจะอยู่ในสายเลือดของคนอินเดีย คนที่นี่นิยมดื่มชามากกว่ากาแฟเสียอีก คนอินเดียเรียกเครื่องดื่มประเภทชานี้ว่า “ไจ” (Chai) ใกล้เคียงกับคำว่า “ชา” ในภาษาจีน บ้างก็เรียกว่า มัสซาลาไจ (Masala Chai) เนื่องเพราะชาที่นี่มีรสเข้มข้น จากการผสมเครื่องเทศปรุงรสให้เผ็ดร้อน ซึ่งมัสซาลา (Masala) เป็นภาษาฮินดี แปลว่า เครื่องเทศ (spice)
ในอินเดียหาซื้อ “ไจ” ได้ง่ายดายมาก ตามริมถนนมีร้านจำหน่ายชาขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วไป ราคาก็ถูกมากทีเดียว แก้วละ 3 รูปี บางเจ้าก็ขายแพงขึ้น ถ้าเป็นบนรถไฟ หรือในสถานีรถไฟต่าง ๆ ราคาประมาณ 5-7 รูปี
ส่วนผสมพื้นฐานใน“ไจ” มักได้แก่ อบเชย (cinnamon) กานพลู (cloves) พริกไทย (pepper) กระวาน (cardamom) และ ขิง (ginger) เป็นต้น บ้างก็ผสมรวมกันหลายอย่าง บ้างก็ใส่อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีทั้งชาดำเพรียวๆ หรือ ชานม แต่ชานมนิยมกันมากกว่า และมีขายโดยทั่วไป
การปรุง “ไจ” ไม่ยากอะไร แค่นำใบชามาต้มให้เดือด แล้วผสมนม น้ำตาล และเครื่องเทศดังกล่าวข้างต้น เลือกเติมได้ตามใจชอบ ต้มให้เดือดสักพักแล้วกรองใส่แก้วรับประทานแบบร้อน หรือจะผสมน้ำแข็งดื่มแบบเย็นๆ ก็ไม่เลวนะ
ส่วนผสมดังกล่าวข้างต้นก็ทำให้ชานม หรือ ไจ หรือ มัสซาลาไจ ของอินเดียมีรสเข้มข้น และเผ็ดร้อนดีนักแล ดื่มแล้วคงทำให้คึกคักหายง่วงกัน และที่อินเดียเขาจะมีช่วงพักเบรคสำหรับทาน “ไจ” กันด้วย รวมทั้งการประชุมสัมมนาต่างๆ ก็นิยมเบรคกันด้วย “ไจ” เช่นกัน “ไจ” จึงเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในอินเดีย
credit:
http://learningpune.com/?p=1993
http://teapartygirl.com/2011/02/frequently-asked-questions-about-chai/